bannera1
ไหมล่ะ! ขายของ งานแฟร์ , งาน Event [ เลือกให้ดี... มีรวย.. ]

ไหมล่ะ! ขายของ งานแฟร์ , งาน Event [ เลือกให้ดี… มีรวย.. ]

ไหมล่ะ! ขายของ งานแฟร์ , งาน Event [ เลือกให้ดี… มีรวย.. ]

“การขายของ” หัวใจสำคัญ..  หนึ่งที่ต้องดูให้ดี..  ตีโจทย์ให้แตก  คือ เรื่องของทำเลที่จะขาย…

ในปัจจุบัน…  งานแฟร์ , งาน Event ,งาน Exhibition เป็นทำเลขายของที่กำลังนิยมอีกรูปแบบหนึ่ง แต่การจะเลือกลงงานแสดงแบบไหน  อย่างไร..  ให้ดีผลลัพธ์ที่ “คุ้มค่า” ที่สุด…  มันต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง..

คำถาม ?  ที่เพื่อนๆ ต้องตอบให้ได้ ก่อนลงสนามจริง..  ( จะได้ไม่เป็นหมูสนาม  ให้เขาเชือดเอาง่ายๆ )

 ไหมล่ะ! ขายของ งานแฟร์ , งาน Event [ เลือกให้ดี... มีรวย.. ]

ประเภท ของ งานแฟร์ , งาน Event , งาน Exhibition

    ก่อนอื่นเราต้องรู้จัก งานแฟร์ , งาน Event , งาน Exhibition ที่จะลงขายกันก่อน ว่าเป็นอย่างไร , โดยปกติ งานแฟร์ จะจัดกันเป็นระยะเวลาสั้นๆ  ประมาณ 5 – 10 วัน โดยประมาณ , มีธีมในการจัดงาน ตัวอย่างเช่น งาน Mom of Love , Sweet of house , งานอาหารอร่อย 4 ภาค , งานของอร่อยทั่วไทย อะไรประมาณนี้

   โดยประเภทของ งานแฟร์ , งาน Event , งาน Exhibition จะแบ่งจาก ระยะเวลาการจัด , ขนาดของงาน , สถานที่จัด , ธีมงาน ได้ดังนี้

1.) งานแฟร์ หรือ งาน Exhibition
    สำหรับงาน งานแฟร์ กับ งาน Exhibition ดูจะคล้ายๆ กันนะครับ แต่ถ้าเอาตามรากศัพท์ของพจนานุกรมแล้ว คำว่า Fair จะมีความหมายออกไปทาง งานออกร้านขายสินค้า มากกว่า , ส่วนคำว่า Exhibition จะแปลว่า งานนิทรรศการ เลย

    แต่อย่าไปซีเรียส กับ 2 อันนี้ เลยครับ  เพราะเดี๋ยวนี้  เรียกกันเป็นอย่างเดียวกันไปแล้วครับ  , เอาเป็นว่า งานแฟร์ กับ งาน Exhibition  จะมีลักษณะการจัดที่มีขนาดใหญ่หน่อยครับ , สถานที่จัดอย่างเช่น เมืองทองธานี , ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ , ไบเทค บางนา   ซึ่งสถานที่เหล่านี้ จะจัดงานแฟร์ หรือ Exhibition อยู่เป็นประจำ ราว 2 สัปดาห์ / 1 งาน

    เป็นการรวมกลุ่มเฉพาะร้านค้า , แบรนด์สินค้า , ผู้ผลิต , ที่มีลักษณะคล้ายกันๆ ตามประเภทสิค้า เช่น ประเภทอาหาร , ประเภทแฟชั่น , ประเภทของตกแต่งบ้าน , ประเภทรถยนต์  นั่นทำให้เป็นโยชน์อยู่ส่วนหนึ่ง  ว่าผู้ที่มาเดินเที่ยวชมงาน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน แน่นอน…

2.) งาน Event
    งานอีเวน์ ( Event ) เป็นงานจัดขายสินค้าเช่นกัน  แต่มีขนาดกลางๆ  โดยส่วนใหญ่จะนิยมจัดกันตาม พื้นที่ส่วนกลางภายในห้าง , คอมมูนิตี้มอลล์ , สำนักงานบริษัทใหญ่ๆ , ศูนย์ราชการ , พื้นที่สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ
    โดยส่วนใหญ่ จะจัดเป็น ร้านค้าเล็กๆ ล็อคๆ , เป็นเต็นท์บ้าง , เป็นล็อคบ้าง , จำนวนล็อคไม่มาก ตั้งแต่ 30 – 80 ล็อค เป็นส่วนใหญ่
    สินค้าที่จะขาย โดยมากจะเป็นสินค้า 2 กลุ่ม หลักๆ คือ ประเภทของกิน ( อาหาร ) และ ประเภทของทั่วไป ( แฟชั่น , แฮนด์เมด ) ระยะเวลาจัดจะน้อยกว่า ข้อ.1 คือ ประมาณ 3 – 7 วัน , จัดต่อรอบ , ต่อสัปดาห์ , ธีมงานส่วนใหญ่คล้ายๆ กัน เช่น handmade idea , iG fashion , ของกิน-สนั่นกรุง อะไรประมาณนี้

3.) มหกรรมสินค้าราคาถูก
    มหกรรมสินค้าราคาถูก นี้จะเป็นการจัดคล้าย คาราวานสินค้า มีทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด  , สำหรับในกรุงเทพ ก็อย่างเช่น งานลดราคาสินค้าของ บริษัท ไอซีซี จำกัด ที่เขาจะนำสินค้าในบริษัทเขามาลดราคาขาย , และแบ่งพื้นที่ให้เช่า มีผู้จัดรับช่วงมาจัดการอีกทอดหนึ่ง ,
    หรือ อย่างที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ  ก็จะมีการจัดงาน มหกรรมสินค้าราคาถูก จากหลายผู้จัด ที่หมุนเวียนเปลี่ยนกันไป…  หรือ ตามต่างจังหวัด ก็จะเป็นขบวนจัด คล้ายคณะคาราวานขายสินค้า โดยจะ ขายทั้งอาหาร , เฟอร์นิเจอร์ไม้ เป็นต้น
    ซึ่งส่วนใหญ่ มหกรรมสินค้าราคาถูก จะจัดนานๆ ครั้งสำหรับผู้จัดที่เป็นบริษัท

4.) งานวัด
    อีกรูปแบบของ งาน event แบบไทยๆ , จัดขายของ ทั้งของกินของใช้ , ที่ใหญ่ๆ ก็อย่างเช่น งานประจำปีวัดไร่ขิง , งานประจำปีวัดใหญ่นครปฐม  จะจัดกันอย่างใหญ่โตเลย 

 ไหมล่ะ! ขายของ งานแฟร์ , งาน Event [ เลือกให้ดี... มีรวย.. ]

ผู้จัด… สำคัญไม่น้อย
เพราะพวกเรา เป็นคนของขายของ “เหมือนเบี้ยตัวเล็กๆ”  อย่างไรก็ต้องดู ศักยภาพของผู้จัดด้วย.. มีฝีมือ มีกิ้นแค่ไหน…

1.) เป็นบริษัท หรือ บุคคลธรรมดา
    ที่จริงแล้ว… ผู้เขียนไม่ได้เน้นว่าจะต้องเป็น บริษัท หรือ บุคคลธรรมดา เท่าไหร่ , ถ้าเรารู้จักอดีตของเขา  แต่มันยากที่จะรู้ใจใครได้..

    ถ้าผู้จัดเป็น “บริษัท” แสดงว่าเขามีการจดทะเบียนการทำธุรกิจ  ( แต่ต้องตรวจการจดทะเบียน กับกรมธุรการค้า จะมีเว็บไซต์ให้ตรวจสอบได้ , จดทะเบียนจริงหรือไม่ , จดมากี่ปีแล้ว เป็นต้น )

    ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา อาจไม่จดทะเบียนการค้า แต่มีการเสียภาษีในแบบบุคคลธรรมดา ตามไปบัตรประชาชน , กรณีนี้ต้องใช้ความคุ้นเคยไปซักระยะ  ก็จะรู้เองว่าผู้จัดคนนี้เป็นอย่างไรบ้าง

2.) สืบอดีตเขาหน่อย
    ต้องค้นหา “ประวัติ” การจัดงานของเขาหน่อยนะครับ เช่น เคยจัดมาบ้างหรือไม่ , แล้วขายดีแค่ไหน ซึ่งมันยากอยู่ที่จะหา แต่ก็ใช้พี่ Goog ให้เป็นประโยชน์ ลองค้าหาจาก เบอร์โทร์ , อีเมลล์ , ลายไอดี , ชื่อ-นามสกุล  หากมีการจัดมาแล้วก็ต้องมีอะไรให้บ้างหล่ะน่า…

3.) มีความเข้าใจงานแค่ไหน..
    ผู้จัดต้องมีความเข้าจัดงาน , เข้าใจผู้ที่มาเดิน , เข้าร้านค้าที่มาขาย , เข้าใจพื้นที่ เพื่อบริหารให้เกิดความพอดี  มัน คือ การบริหารทุกๆ ฝ่ายให้ลงตัว , ให้ขับเคลื่อนงานไปข้างหน้าให้ได้ , ถ้าผู้จัดที่เขามีความเข้าใจงานแล้ว อาจมีหลายสถานที่ในมือ ซึ่งล้วนแล้วเป็นสถานที่ทำเลดีๆ  แสดงว่าผู้จัดคนนี้ เขามีฝีมืออยู่พอตัว สามารถดิวเรื่องสถานที่ได้ , สามารถบริหารงานหลายสถานที่ได้ ก็น่าสนใจไปขายดูซักตั้ง…

    อ้าวอย่างนี้ ผู้จัดมือใหม่ หรือ บริษัทใหม่ๆ ที่จัดจะ งานแฟร์ , งาน Event , งาน Exhibition ก็หมดโอกาสซิ  เล่นให้ดูแต่อดีต…  ก็ไม่เชิงนะครับ  พูดอย่างนี้เดี๋ยวจะไม่มี ผู้จัดหน้าใหม่ๆ หรือ บริษัทใหม่ๆ มาจัดกันพอดี ,  จะทำไม่ให้เกิดการแข่งขัน  และทำให้ราคาค่าเช่าสูงไปเลยๆ  แย่เลย…
    งั้นเราคงต้องหาข้อควรพิจารณา ว่าจะไปขายงานไหนดีนา…  ไปดูต่อเลยครับ…

 ไหมล่ะ! ขายของ งานแฟร์ , งาน Event [ เลือกให้ดี... มีรวย.. ]

จะลงขายตาม งานแฟร์ , งาน Event , งาน Exhibition ต้องรู้นอก รู้ใน , ให้ดูจากสิ่งเหล่านี้

1.) จำนวนร้านค้าที่มาลงขาย
    จำนวนร้านค้า ต้องพอดี พอดี  ไม่มากเกินไป หรือ น้อยเกินไป , ถ้าหากว่าร้านค้ามาขายน้อยไป ก็จะทำให้งานดูห่อเหียว ไม่สามารถดึงคนมาซื้อของได้ หรือ ถ้ามีร้านค้ามากเกินไป ก็จะทำให้เกิด การแย่งกันขาย ขายไปก็อาจไม่คุ้มทุน

2.) ธีมงาน
    ธีมงาน ชัดเจน จะได้เปรียบกว่า เพราะทำให้ได้กลุ่มลูกค้าที่ตรงกับเรา ยกตัวอย่างเช่น Street food of japan แน่นอนต้องเป็นคนที่ชอบทานอาหารญีปุ่น  “ถ้าร้านเราขาย ปูอัดแปรนำเข้า” ก็น่าไปขายอยู่นะครับ

3.) กิจกรรมภายในงาน
    งานอีเว้นท์ ไม่ได้จัดกันประจำ จะหมุนเวียนไปเลยๆ  ตามแต่ละผู้จัดที่ได้พื้นที่มา  ดังนั้น ต้องสร้างกิจกรรมพิเศษ เพื่อดึงดูดคนให้มาเดินเที่ยวงานด้วย  ซึ่งที่เห็นบ่อยๆ ก็เช่น  “มินิคอนเสิร์ต” , การแสดงมายากล , เดินแฟชั่น , การประกวดต่างๆ ,
    เราต้องดูด้วยว่า กิจกรรมนั้นๆ  มีความเป็นไปได้ไหม งานขนาดนี้ , ค่าเช่าแบบนี้ , ผู้จัดสามารถทำตามที่พูดได้หรือไม่  ไม่โฆษณาเกินจริงเพียงเพราะอย่างขายล็อคให้หมด

4.) สถานที่ จัดงาน
    สถานที่ จัดงาน ก็มีส่วนสำคัญ  สามารถบอกให้เรารู้อะไรบ้างอย่าง  เช่น ถ้าจัดในห้าง  ห้างนั้นมีคนเดินมากน้อยแค่ไหน , บริเวณนั้นจัดงานประจำหรือเปล่า , รอบบริเวณๆ ห้าง เป็นอย่างไร , มีคนทำงาน หรือ อาศัยมากน้อยแค่ไหน





Advertisements

5.) Lay out ก็สำคัญ
    การจัดแผนผัง ภายในงานก็สำคัญ การจัดระเบียบร้านค้า , ทางเดินที่มีขนาดกว้างพอสมควร , จุดกึ่งกลาง พื้นที่รวมจัดกิจกรรมต่างๆ , การกำหนดการเคลื่อนไหวของคนซื้อของ ให้มีการไหลของกระแสคนเดิน ไปอย่างทั่วถึงทุกร้านค้า , ล้วนแล้วต้องทำอย่างชัดเจน และมีแผนผังให้เราดู  พร้อมอธิบายแต่ละโซนอย่างชัดเจนด้วย

6.) ที่จอดรถขาดไม่ได้
    กรณีที่ตั้งกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ที่มางานด้วยรถยนต์นั้น  ต้องมีที่จอดรองรับด้วยสำคัญมาก  หากมีไม่เพียงพอละก็ จอดไม่ต้องแจ้วเลยงานนี้
    แต่ถ้าเป็นกลุ่มลูกค้า พนักงานออฟฟิศ , ข้าราชการ รอบๆ งาน ก็อาจไม่จำเป็น สำหรับเรื่องที่จอดรถ  หากคงขึ้นอยู่กับ “ทำเล และ ธีมงาน”

7.) กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร
    ต้องมองให้ออก ว่า งานแฟร์ , งาน Event , งาน Exhibition ที่เราจะไปขายนั้น กลุ่มเป้าหมายเป้าหมายคือใคร เช่น งานหนังสือ ก็ ต้องเป็น นักศึกษา นักเรียน ผู้ที่ชอบการอ่านเป็นหลัก  จะมาขายกาแฟ , จะขายหนังสือมือสอง , ชั้นวางหนังสือ หรืออะไรที่เกี่ยวข้อง ก็ย่อมได้

8.) ปริมาณผู้ชมงาน
    ควรคำนวณปริมาณคนเข้าชมงาน แบบคราวๆ ได้ว่าจะมีคนมางานตลอดทั้งงานกี่คน , ใน  1 วัน จะมีผู้ที่มาเดินงานเท่าไหร่ , ใน 1 ชั่วโมง จะมีคนเดินผ่านหน้าร้านเรากี่คน , ซึ่งตัวเลขที่ออกมาเป็นไปได้แค่ไหน… และจำนวนคนดังกล่าว  เพียงพอกับร้านค้าที่มีในงานหรือไม่

ยกตัวอย่าง :
งานมหัศจรรย์ อาหารอร่อย หอยใหญ่ ของทะเลบุกกรุง  
มีร้านค้าทั้งสิน 500 ร้านค้า , จัดทั้งหมด 10 วัน
– ต้องการคนเดิน / ต่อ 1 วัน / ต่อ 1 ร้าน = 100 คน
– ฉะนั้น 500 ร้านค้า จะต้องมีคนเดิน 500 x 100 = 50,000 คน/วัน
[ ปล.คนเดิน 100 คน , เป็นการเฉลี่ยลูกค้านะครับ , คงเป็นไปไม่ได้ที่คน 50,000 คน จะเป็นลูกค้าร้านเราทั้งหมด ]

9.) ร้านอื่นๆ บอกอะไรเราบ้าง
    การดูร้านอื่นๆ ก็บอกเราได้เหมือนกันครับ  ดูว่า ร้านที่มาขายแต่ละร้านเป็นอย่างไร , มีชื่อเสียงไหม , เขาขายมานานแล้วไหม , ร้านเขาดูดีหรือเปล่า ,  ถ้าร้านที่มาลงขาย เป็นร้านที่ดูดี  สินค้าน่าซื้อไปหมด  แน่นอนลูกค้าย่อมอยากเดินซื้อสินค้า  เราไปขาย เราก็ได้รับผลดีไปด้วย

10.) ประชาสัมพันธ์ ที่เป็นจริง..
    การทำสื่อประชาสัมพันธ์ ต้องมีเลย  และต้องเป็นจริง เป็นไปได้ด้วย , ไม่ใช่บอกว่าจะออกทีวี ช่วงที่เป็นพาร์มไทม์ , กับงานจัดการกลางๆ  มันเป็นไปได้ไหม ต้องพิจารณาด้วยนะครับ
    หากลงสื่อ facebook , ลงเว็บไซต์ , แจกใบปลิว , ติดป้าย สำหรับงานกลางๆ ก็พอเข้าใจได้อยู่…
    ถ้าเป็นงานใหญ่ๆ ค่าเช่าสูงๆ  ไม่ลงสื่อทีวี อันนี้ซิ  ต้องระวัง…

 ไหมล่ะ! ขายของ งานแฟร์ , งาน Event [ เลือกให้ดี... มีรวย.. ]

คำนวณ กันหน่อย.. [ ก่อนเจอของจริง ]

    สำหรับ งานแฟร์ , งาน Event , งาน Exhibition โดยส่วนใหญ่ จะมีราคาค่าเช่าที่สูงอยู่ครับ งานแฟร์ หรือ Exhibition จะว่ากันเป็นรอบๆ จบงานไปเลย เฉลี่ยบูธ 1 ตกประมาณ 5,000 – 15,000 บาท/วัน , ถ้าเป็นงานอีเว้นท์ ก็ขึ้นอยู่กับขนาด และ สถานที่จัด ประมาณ 1,200 – 5,000 บาท/วัน

ฉะนั้นต้องทดลองคำนวณในกระดาษกันก่อนนะครับ

สมมุติกรณีตัวอย่าง “ขายซาลาเปาลาวาไส้ไหล”
ซาลาเปาลาวาไส้ไหล บิ๊กบึ้ม ไหลสุดๆ ขายลูกละ 30 บาท , มีกำไร 15 บาท ( ยังไม่คิดค่าใช้จ่าย )
มีต้นทุนค่าเช่า 1,000 บาท/วัน
ฉะนั้น 1 วัน ต้องขายซาลาเปากี่ลูก คือ 1000 บาท หาร 15 บาท = 66.66 ลูก/วัน
[ ปล.แค่ยกตัวอย่าง เพื่อนๆขายอะไร , มีกำไรเท่าไหร่ ก็แทนค่ากันเอาเองครับ ]

 ไหมล่ะ! ขายของ งานแฟร์ , งาน Event [ เลือกให้ดี... มีรวย.. ]

ประโยชน์ ที่ผู้เช่าจะได้รับ

สำหรับเรื่อง ผลประโยชน์ หรือ เป้าหมาย ที่ผู้เช่าจะได้รับ แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1.) ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ
     มีหลายๆ บริษัท มักนิยมไปขายสินค้า  ตามงานต่างๆ  เพื่อทำให้คนรู้จักสินค้า , ชื่อสินค้า , ชื่อบริษัทมากขึ้น  ซึ่งบริษัทเหล่านี้ เขายังมีช่องการขายอื่นๆ รองรับด้วย ,  หากคนที่มาซื้อของไปแล้ว  อยากซื้อสินค้าตัวนี้อีก ก็สามารถหาได้แถวบ้าน  เป็นการย้ำการรับรู้ตัวสินค้านั่นเอง
2.) เม็ดเงิน
    แน่นอน ครับ ใครที่อยากไปขายของก็อยากได้กำไรกันทั้งนั้น  , ซึ่งก็ต้องศึกษา เลือกพิจารณาจากข้อต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วครับ





Advertisements

    สำหรับ การเลือกไปขายของ ตาม งานแฟร์ , งาน Event , งาน Exhibition เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ  บ้างงานที่มีการจัดอย่างเป็นมืออาชีพ  สามารถเรียกคนมาเดินงานได้จำนวนมาก เป็นหลักล้านคน เล่นเอารถติดไปทั้งเมือง ก็มีมาแล้ว…
    แต่ก็มีบ้างงานที่ผู้จัด หวังแต่จะหาคนเช่าอย่างเดียวก็มีเยอะ  ฉะนั้นเพื่อนๆ  ควรพิจารณาให้อย่างถี่ถ้วน…  ใช้หลักต่างๆ  ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว  ก็น่าจะกลั่นกรองได้บ้าง  ไม่มากก็น้อย  หวังว่าคงจะพอมีประโยชน์บ้าง  “หากเลือกได้ดี  เลือกให้ถี่ถ้วน ยอดขายต้องพุ่งแน่นอน” 

เขียนโดย อาซาดะ ริวอิจิ
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com
ไม่อนุญาต “คัดลอก” รวมถึงในกรณี ที่จะใส่ลิ้งค์กลับ ก็ไม่อนุญาต เช่นกันนะครับ
อนุญาตให้ “แชร์” ได้ครับ
ขอบคุณครับ

 

copyright

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.