เลือกล็อคตลาดนัด เลือกล็อคตลาดนัด

เลือกล็อคตลาดนัดอย่างไรดี…ไม่ให้ขาดทุน (ฉบับพิเศษ)

เลือกล็อคตลาดนัดอย่างไรดี…ไม่ให้ขาดทุน (ฉบับพิเศษ)

การจะขายของตามตลาดนัด  อีกสิ่งที่สำคัญ และ ต้องคำนึงถึงให้ดี คือ “การดูล็อคให้ขาด…”
“ล็อคตลาดนัด”  แบบไหนถึงจะดี…
“ล็อคตลาดนัด”  แบบไหนถึงจะขายของได้…
“ล็อคตลาดนัด”  แบบไหนที่ขายแล้วจะไม่ขาดทุน…
บทเรียนบางอย่างสอนกันไม่ได้….ต้องใช้ประสบการณ์  เรียนถูกผิดกันเอาเอง…
บทความต่อไปนี้…จะเป็นการเสริมมุมมอง ในการเลือกลงล็อคตลาดนัด
ใครที่ช่ำชอง…ย่อมได้เปรียบ
ใครที่ทำแล้วทำอีก…ย่อมเต็มเปี่ยมด้วยประสบการณ์





Advertisements

    8 ทริคต่อไปนี้…เป็นเพียง เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย  ที่จะช่วยให้เพื่อนๆ พอมองเห็นภาพ “ล็อคตลาดนัด” ได้ขาด… ว่า… จะต้องเลือกล็อคตลาดนัดแบบไหนดี  “ขึ้นชื่อว่า ล็อคตลาดนัด ถ้าเลือกดีก็มีชัยชำนะไปกว่ากึ่งหนึ่งแล้ว  หากเลือกผิด…คงมอดม้วยมรณา  จงอย่าได้พิรี้พิไร… ไปเริ่มกันเลย

ผลัด 2 กำลังดี

     แน่นอน…ครับ “ล็อคตลาดนัด” แถวหน้าสุด  มุมมองย่อมดีที่สุด… แต่ช้าก่อนน้องพี่  เศรษฐกิจยุคลุง การใช้เงินในกระเป๋าแต่ละบาท คงต้องคิดแล้วคิดอีก… “ลูกค้าเดินเจอร้านแรก ใช่ว่าจะตัดสินใจซื้อเลย” 

    ต้องได้สัมผัสบรรยากาศ สัมผัสรูป-รส-กลิ่น-เสียง  ให้ดีที่เสียก่อน…  จึงจะเริ่มตัดสินใจซื้อ  ฉะนั้น… ล็อคแถวสองย่อมมีโอกาสขายได้เหมือนกัน  เพื่อนที่ได้ล็อคแถวสอง…ก็ทำการบ้านให้ดีๆ นะครับ ลูกค้าเดินผ่านหน้าร้านมีจังหวะแค่เสี้ยววินาทีเดินผ่าน  จะทำอะไรก็รีบทำ…  “ปากเรียกลูกค้า ตาจ้องเป้าหมาย ใบหน้าอมยิ้ม อัดโปรให้เต็มที 3 วินาที ก็เก็บตังค์”

หัวมุมเป็นต่อ

    ล็อคตลาดนัด ที่อยู่หัวมุม ก็ดีเหมือนกันนะครับ  เปิดรับลูกค้า 2 ด้าน  มุมมองสวยงาม โอกาสพบประสบเจอลูกค้ามีเวลาเพิ่มอีกนิดนึง  แต่ล็อคมุม ต้องพิจารณาว่า…เป็นล็อคมุม ด้านไหนด้วยนะครับ  “ล็อคมุมหน้า , ล็อคมุมหลัง , ล็อคมุมท้าย”  เหล่านี้มีผลต่อจำนวนลูกค้าที่เดินผ่านด้วยนะครับ

เปิด 3 ด้าน เลยเป็นไง

    เพื่อนๆน่าจะเคยเห็นร้านที่ขายแบบเปิด 3 ด้าน กันนะครับ  ล็อคลักษณะนี้ เหมาะสำหรับร้านที่มีความพร้อม เพราะต้องเปิดการขายถึง 3 ด้าน 

     1.) คนต้องพร้อม หากลูกค้าเข้าพร้อมๆกัน ต้องมีพนักงานดูแลให้ครบ ต้องบริการให้เร็วและถูกต้อง  อีกทั้งยังต้องคอยระมัดระวัง พวกที่ชอบกินฟรีอีกตังหาก ฉะนั้นถ้าเพื่อนๆ พึ่งเริ่มต้น…แนะนำล็อคแบบหน้าเดียวไปก่อนดีกว่านะครับ

     2.) สินค้าต้องพร้อม การเปิดร้านในลัษณะนี้ แน่นอน…ครับ  ต้องเพิ่มจำนวนพื้นที่มากขึ้นด้วย  นั่นส่งผลถึง…การที่เราก็ต้องลงของให้เยอะขึ้นกว่าปกติ  จะลงของแบบน้อยๆ  ไม่สมกับขนาดพื้นที่  คงดูเป็นร้านแบบร้างๆ  ฉะนั้นปริมาณการจัดของ ต้องให้เหมาะสมด้วยนะครับ

     3.) ระบบ และ เงินทุน : ล็อค 3 ด้าน , ร้านที่จะลงล็อค 3 ด้าน ต้องมีระบบที่สมบูรณ์แล้วพอสมควร  มีประสบการณ์ขายมาบ้างแล้ว  ระบบภายในร้าน จึงมีความสำคัญ  การต่อเนื่องของสินค้าที่จะต้องออกมาให้เพียงพอกับจำนวนลูกค้า  เป็นเรื่องที่ต้องมีความชำนาญมาพอสมควรแล้ว

      อันมีผลต่อเนื่องไปในส่วนเรื่อง “เงินทุน”  ต้องมีเงินลงทุนมากพอ  เพราะต้องมีการลงทุนที่มากขึ้น  ต้องกันเงินสำรองไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่ขาดฝันด้วย  เพื่อให้ร้านยืนระยะไปให้ได้ซักพัก ในช่วงวิกฤต

ล็อคเพื่อนบ้านมีผล

     “ได้เพื่อนบ้านดี เหมือนถูกล็อตเตอรี่”  ใช่แล้วครับ…  การเลือกล็อคตลาดนัดก็เช่นกัน  ควรศึกษาข้อมูลจักหน่อย ว่า….รอบๆ ร้านเรา  แต่ละร้านขายอะไรกันบ้าง  “ขายสินค้าราคาถูก ขายสินค้ามีควันเยอะ”  ซึ่งอาจส่งผลดี-ผลเสีย กระทบการขายของเราได้นะครับ 

    อีกทั้งเรื่องของมนุษยสัมพันธ์  ก็มีความสำคัญนะครับ  หากถ้าเข้าไปขายแล้ว  เราควรทำความรู้จักกับล็อคข้างเคียงไว้บ้าง มีอะไรก็จะได้ช่วยเหลือกัน ถ้าได้เพื่อนร้านที่มนุษยสัมพันธ์ดี ก็นับว่าโชคดีมากครับ

ผังตลาดถ้ามี ต้องศึกษา

    ตลาดแต่ละตลาด มีขนาดพื้นที่ต่างกัน รูปแบบ คอนเซ็ปก็แตกต่างกัน  การจัดล็อคจึงแตกต่างกันไป  เราควรศึกษา “ผังตลาด”  ไว้บ้าง… ว่า… โซนไหนอยู่บริเวณไหนกันบ้าง  โซนอาหาร , โซนแฟชั่น , โซนแบกะดิน , โซนกิจกรรม

    โดยส่วนใหญ่ ตลาดนัด จะเอาโซนอาหารไว้ด้านหน้า เพื่อเรียกลูกค้า ถัดมาเป็นโซนแฟชั่น และแบกะดิน ตามลำดับ , โซนกิจกรรม จะอยู่ด้านตรงกลาง เชื่อมกับทุกโซน  บางตลาดจัดเป็นรูปยู ล้อมโซนกิจกรรมก็มี  การจัดผังที่ดี…จะส่งผลกับทุกล็อคในตลาดนะครับ  “ถ้าจัดได้ดี…การไหลของคนเดิน จะวนไปทุกพื้นที่ของตลาดนัดเลยทีเดียว”

ไร้สิ่งรบกวน

    ล็อคตลาดนัด อีกส่วนสำคัญที่จะต้องพิจารณา ก็คือ  สิ่งรบกวนต่างๆ  มี่เราควรหลีกเลี่ยงให้ดี  อาธิเช่น  ใกล้กับที่ทิ้งขยะของตลาด , ใกล้ลำโพงกระจายเสียง , หรือ ใกล้ร้านอาหารที่มีการปรุงอาหารที่มีควันมากๆ , มีกลิ่นฉุนจัดๆ อย่างร้านผัดกระเพรา , ถ้าเป็นไปได้เลือกที่ไม่มีสิ่งรบกวนดีกว่าครับ

ทางผ่าน

     ทางผ่าน มีในตลาดนัด ก็ถือว่าน่าสนใจ  เช่น ทางผ่านเข้าทางหลักของตลาด , ทางผ่านไปที่จอดรถ ,  ทางผ่านไปห้องน้ำ , ทางผ่านไปลานกิจกรรม  ซึ่งในการเลือกทางผ่านก็ต้องดูจุดที่จะลงด้วยนะครับ  ไม่แนะนำให้ลงใกล้กับจุดนั้นมากเกินไป  “ล็อคทางผ่านที่ไปห้องน้ำ  แต่ไม่ติดกับห้องน้ำ”  , “ล็อคทางผ่านไปที่จอดรถ แต่ไม่ควรติดกับที่จอดรถ”  แต่ละจุด เพื่อนๆ ควรไปดูสถานที่จริงประกอบด้วยนะครับ

ล็อครายวัน หรือ ล็อคประจำดี

     ล็อคทั้ง 2 แบบ  มีหลายองค์ประกอบที่ใช้ในการพิจารณานะครับ  ขึ้นกับตัวสินค้า ขึ้นกับตัวบุคคล ขึ้นกับตัวตลาดนัด  กล่าวคือ  ถ้าสินค้าของเพื่อนเป็นแบบฉาบฉวย สินค้าที่ลูกค้าเบื่อง่าย แนะนำ…ล็อคขาจรดีกว่าครับ  ไปได้ทุกตลาด ไปเรื่อยๆ จะขายได้ดีกว่าครับ

    แล้วถ้าขายสินค้าที่มีการซื้อซ้ำ มีลูกค้าประจำ อีกทั้งเจ้าของร้าน ก็ไม่สะดวกในเรื่องการเดินทางไกลๆ  แนะนำ “ล็อคประจำ” เลยครับ ดีที่สุด…

     ในส่วนที่เกี่ยวกับตลาดนัดนั้น ถ้าเป็นตลาดนัดที่ติดแล้ว ถ้าลงได้…ให้ลงแบบประจำไปเลยครับ ส่วนถ้าตลาดไหนเรายังไม่แน่ใจ ก็ลองแบบรายวันไปครับ





Advertisements

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับเพื่อนๆ  พอเห็นภาพรวมคราวๆ กันนะครับ  ในเรื่องของการเลือกล็อคตลาดนัดนั้น  ยังมีอีกหลายส่วนที่ใช้ในการพิจารณานะครับ  ทั้งนี้…คงต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล  หากได้ลองขาย… ได้ลองผิด-ลองถูก  ก็จะเกิดความชำนาญขึ้นมาเองครับ “ลองดูนะครับ…สู้ไปครับ”

……………………………………………………

เขียนโดย ทีมงานทำเลขายของ.com
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com
(ข้อมูลลิขสิทธ์ วันที่ 19 พ.ย. 2562  
โดยทีมงาน www.ทำเลขายของ.com )
ไม่อนุญาต “คัดลอก” รวมถึงในกรณี ที่จะใส่ลิ้งค์กลับ ก็ไม่อนุญาต เช่นกันนะครับ
อนุญาตให้ “แชร์” ได้ครับ
ขอบคุณครับ

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.