bannera1
เปลี่ยนธุรกิจเป็นแฟรนไชส์

คิดก่อนเปลี่ยนธุรกิจเป็นแฟรนไชส์ ข้อดีข้อเสียเป็นยังไงไปดูกัน

ข้อดีข้อเสียในการเปลี่ยนธุรกิจเป็นแฟรนไชส์

       นักธุรกิจที่ได้พัฒนาธุรกิจจนประสบความสำเร็จ โดยส่วนมากแล้วพวกเขาเหล่านั้นมักจะเลือกการทำแฟรนไชส์เพื่อเป็นการขยายองค์กรของตนเอง และก็เหมือนธุรกิจอื่นๆ การทำแฟรนไชส์ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยเช่นกัน ไม่มีทางเลยที่จะมั่นใจได้ว่าการทำแฟรนไชส์จะเหมาะกับธุรกิจของตนเองหรือไม่จนกว่าจะได้ชั่งน้ำหนักของทั้งข้อดีและข้อเสียของการทำแฟรนไชส์ ดังข้อดีข้อเสียเหล่านี้

แฟรนไชส์เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการขยายการลงทุนสูงมาก

       การทำแฟรนไชส์เป็นหนทางที่ง่ายต่อการขยายการลงทุน เนื่องจากแฟรนไชส์ซีจ่ายเพื่อซื้อลิขสิทธิ์ในการขายจากแฟรนไชส์เซอร์ ดังนั้นแฟรนไชส์เซอร์สามารถเติบโตมีหลายสาขาได้โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยทุนของตนเอง หรือต้องร้องขอธนาคารเพื่อเปิดสาขาด้วยตนเองนั่นเอง อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพของสาขาแฟรนไชส์ในแต่ละสาขา เพราะแฟรนไชส์ซีเป็นเจ้าของและดูแลด้วยตัวเอง ย่อมมีความใส่ใจมากกว่าสถานะของ พนักงาน คนหนึ่งในบริษัท





Advertisements

สามารถควบคุมและลดความเสี่ยงในการเติบโตได้อย่างเป็นระบบ

       การทำแฟรนไชส์สามารถควบคุมการเติบโตของธุรกิจได้ค่อนข้างดี และมีความเสี่ยงน้อยกว่าการขยายสาขาด้วยตัวเอง หากทำการวางระบบการจัดการที่ดี เช่น การขยายสาขาแฟรนไชส์แต่ละสาขา แฟรนไชส์เซอร์ใช้เงินลงทุนด้วยทุนของตนเอง ยิ่งมีระบบการจัดการที่ดีมากเท่าไหร่ แฟรนไชส์ซีจะยิ่งได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น ก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สนใจรายอื่นๆ และขายสาขาแฟรนไชส์ได้มากเท่านั้น (ตัวอย่างเช่น แฟรนไชส์ลูกชิ้นปลาระเบิดหลายๆ แบรนด์) อีกทั้งการขายแฟรนไชส์มีความเสี่ยงน้อย การเปิดสาขาเอง เพราะการเปิดสาขาเองย่อมมีต้นทุน และการดูแลสาขาด้วยตัวบริษัทเองที่เพิ่มขึ้นมา หากดูแลไม่ทั่วถึงก็จะทำให้สาขาของแฟรนไชส์ซีขาดทุนได้

มีอำนาจต่อรองราคา ลดต้นทุนเมื่อมีการซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก

       เนื่องจากการลดต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจอย่างมาก ทำให้การขายแฟรนไชส์เป็นสิ่งที่จะสามารถตอบโจทย์ในการลดต้นทุนนี้ได้ตรงจุด ซึ่งถ้ามีสาขาแฟรนไชส์ซีเยอะมากเท่าไหร่ ก็จะต้องซื้อวัตถุดิบมากขึ้นเท่านั้น และด้วยจำนวนซื้อที่มากนี่เองทำให้ราคาต่อหน่วยลดลง สามารถลดต้นทุนได้ ซึ่งการลดต้นทุนนี่เองทำให้สามารถมีกำไรต่อหน่วยได้มากขึ้น

เพิ่มภาพลักษณ์และการรู้จัก “แบรนด์” ได้มากด้วยต้นทุนที่น้อย

       ด้วยความที่แฟรนไชส์เป็นระบบธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะ คือต้องให้ผู้สนใจลงทุนซื้อลิขสิทธ์ ต้องหาทำเลในการขายในหลายๆ เขตพื้นที่ การขายแฟรนไชส์เซอร์จึงได้ผลประโยชน์ในจุดนี้ เพราะสามารถขยายสาขาแฟรนไชส์ไปในหลายๆ ที่โดยไม่ต้องใช้การลงทุนเอง ยิ่งมีการขยายการลงทุนมากเท่าไหร่ ผู้บริโภคก็จะรู้จักสินค้าและชื่อแบรนด์มากขึ้นเท่านั้น โดยที่บริษัทไม่ต้องลงทุนเพิ่มเท่าไหร่นัก

 

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ชัดว่า การขยายธุรกิจในระบบแฟรนไชส์นั้น เป็นระบบที่สามารถสร้างโอกาสในการเพิ่มยอดขาย ทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง แต่ทุกระบบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การเปลี่ยนธุรกิจเป็นแฟรนไชส์ก็เช่นกัน กล่าวถึงข้อเสียคร่าวๆ ได้ดังนี้

ควบคุมคุณภาพได้ยากหากไม่มีการวางระบบจัดการที่ดีพอ

       เนื่องจากระบบแฟรนไชส์นั้น เป็นการขายระบบการทำธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่ตัวสินค้า ขั้นตอนการทำงาน ระบบจัดการ รวมถึง แบรนด์สินค้า โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความ “ง่าย” ในการทำธุรกิจให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี แฟรนไชส์ซีจะใช้เงินแลกกับเวลาในการพัฒนาธุรกิจใหม่ ซึ่งในการที่แฟรนไชส์ซีมาซื้อธุรกิจของเราในแต่ละครั้งนั้น ย่อมมีจุดประสงค์ในการทำกำไรเป็นสูงสุด หากแฟรนไชส์มีระบบการจัดการไม่ดี เช่น ขั้นตอนการสั่งซื้อไม่แน่นอน การจัดส่งที่ล่าช้า สินค้าเสียหาย การติดต่อสื่อสารที่ลำบากโยนกันหลายฝ่าย การทับซ้อนของพื้นที่ การไม่ช่วยเหลือดูแลปัญหา ฯลฯ ปัญหาทุกอย่าง จะทำให้แฟรนไชส์ซีขาดทุนและเลิกสัญญาไป เมื่ออัตราการยกเลิกสัญญาสูง ภาพลักษณ์ของแบรนด์จะยิ่งเสียหาย และจะไม่มีผู้สนใจรายอื่นมาซื้อแฟรนไชส์อีก

ความเสี่ยงในการสื่อสารที่ผิดพลาดกับแฟรนไชส์เซอร์

       เป็นเรื่องยากที่จะทำให้แฟรนไชส์ซีหาพนักงานที่ทำหน้าที่ในการติดต่อ หรือสื่อสารโดยตรงกับแฟรนไชส์เซอร์ หรือสำนักงานใหญ่ ด้วยความที่ในบางแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซีสามารถทำการตลาดด้วยตนเองได้ และต้องการที่จะหารายได้เพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดเอง เช่น การโฆษณาเพื่อให้โดนใจผู้บริโภคในเขตการทำธุรกิจนั้นๆด้วยตนเอง จึงอาจเกิดความวุ่นวายได้ถ้าไม่มีการติดต่อสื่อสารที่ดีกับสำนักงานใหญ่ จนอาจลุกลามเป็นเรื่องใหญ่โต เช่น สาขานี้มีโปรโมชั่นนี้ ทำไมสาขาอื่นถึงไม่มี เมื่อลูกค้าถามกับทางสำนักงานใหญ่ แต่สำนักงานใหญ่กลับไม่สามารถอธิบายได้





Advertisements

ความเสี่ยงในการเพิ่มไลน์สินค้าใหม่

       ยิ่งเป็นสิ่งที่ยากมากขึ้น ถ้าทำแฟรนไชส์และต้องการหาสิ่งใหม่ๆ มาเพิ่มเติมในธุรกิจมากกว่าการเปิดสาขาด้วยตนเอง เพราะเนื่องจากถ้าแฟรนไชส์เซอร์มีไอเดียใหม่ๆและต้องการเพิ่มเติมในธุรกิจ จำเป็นต้องมีการตัดสินใจกับแฟรนไชส์ซีรายอื่นๆด้วย เพราะการเป็นแฟรนไชส์ต้องมีการปรับและมีรูปแบบที่เหมือนกันแทนที่จะสามารถทำได้ด้วยตนเองเลยถ้าไม่ได้ทำแฟรนไชส์และเปิดสาขาด้วยตนเอง

เขียนโดย เซน ผู้เหลือรอดคนสุดท้าย
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com

copyright

ผู้สนับสนุน หมวดแฟรนไชส์

bannera1

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.