bannera1 bannera1 bannera1
จองล็อคตลาดนัด แนวทางการติดต่อจองล็อคตลาดนัด

แนวทางการติดต่อ ”จองล็อคตลาดนัด” (มือใหม่)

แนวทางการติดต่อจองล็อคตลาดนัด(มือใหม่)

    มีเพื่อนหลายคน…ที่เริ่มสนใจ อยากจะไปลงขายของตามตลาดนัด แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร จะติดต่อตลาดไหน มีขั้นตอนการติดต่อ ”จองล็อคตลาดนัด” อย่างไรบ้าง…

    วันนี้…จะพาไปศึกษาขั้นตอนการจองล็อคตลาดนัด ในแบบต่างๆ  ทั้งหมด 6 หัวข้อดังนี้





Advertisements

1.)จองล็อคตลาดนัดตลาดเปิดใหม่

    ในการจองล็อคแบบนี้ง่ายที่สุด คือ จองล็อคตลาดนัด แบบที่ตลาดนัดพึ่งเปิดใหม่ เพราะตลาดลักษณะนี้ต้องการร้านค้ามาลงขายกันเยอะๆ  ร้านต่างๆยังมีไม่มาก เวลาที่เราเข้าไปติดต่อ ถ้าสินค้าดูใช้ได้ไม่ซ้ำกับที่เขารับไว้แล้ว ก็ขายได้เลย

    แต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยง ก็อย่างที่เขาบอกๆ กันหละครับ “ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ยิ่งเสี่ยงมาก ผลตอบแทนยิ่งมาก หรืออาจขาดทุนมาก ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น” 

    การจะ “จองล็อคตลาดนัด” ในลักษณะนี้ จึงควรพิจารณาให้ดีก่อน ต้องดูความสามรถของผู้บริหารในอดีตที่ผ่านมา หรือ ดูแผนธุรกิจของเขา  ตลาดที่ดีเขาย่อมเปิดเผยแนวทางการทำตลาดให้ผู้ที่จะเช่าได้รู้อยู่แล้ว ว่าจะพีอาร์อย่างไร จะบริหารตลาดไปในทิศทางไหน อย่างไร

    ต้องดูทำเลที่ตั้ง เป็นสำคัญ ทำเลดี…ได้เปรียบไปกว่าครึ่ง , ต้องมี สาธารณูบริโภคพร้อม ห้องน้ำ ที่จอดรถที่เพียงพอ เป็นต้น

2.)จองล็อคตลาดนัดตลาดติดลมบน

    ในการ “จองล็อคตลาดนัด” ตลาดลักษณะนี้ทำได้ยากมาก โดยที่ตลาดลักษณะนี้ จะแบ่งการจองล็อคออกเป็น 2 แบบ คือ ล็อคขาประจำ , ล็อคขาจร (ขออธิบายล็อคขาจรและล็อคขาจรพอสังเขปที่ด้านล่างสุดของเรื่อง)A1

     ล็อคขาประจำ ส่วนใหญ่จะจองกันเป็นรายเดือน จ่ายค่าเช่า 1 เดือน สำหรับที่จะขายในรอบเดือนหน้า เช่น ขายเดือนกันยายน ก็กำหนดจ่ายวันที่ 28 สิงหาคม ประมาณนี้  ซึ่งล็อคลักษณะนี้ จะมีหมุนเปลี่ยนได้บ้าง หรือ เรียกว่า “ล็อคหลุด”A2

    เช่น ตลาดดังย่านศรีนครบุรี จะประกาศล็อคหลุดออกมา อาจมี 4-5 ร้านในแต่ละเดือน จากจำนวนพันกว่าล็อค ก็จะนำมาให้มีการจับฉลาก เพื่อจองล็อคขาประจำนั่นเอง

    ส่วนล็อคขาจร ก็จะมีทั้งแบบที่เราต้องไปติดลงชื่อที่ตลาด  ตั้งแต่ตลาดยังไม่เปิดขาย แบบวันต่อวัน เช่น บางตลาดให้ไปลงชื่อ ตั้งแต่ช่วงเที่ยง-บ่ายสองโมง จะทราบผลว่าได้ขายไหม ก็ช่วงประมาณ 17:00 น.  จากการที่เจ้าหน้าที่ตัดล็อค(A3)เรียบร้อยแล้ว

3.)จองล็อคตลาดนัดจับฉลาก

    ในการ “จองล็อคตลาดนัด” แบบจับฉลากนั้น ที่มีการจับกันแบบทุกวัน ช่วงเวลาบ่ายสองโมง เพื่อขายในวันถัดไป ที่เห็นก็จะมีในย่านรัชดา เป็นตลาดที่ได้รับความนิยมจากพ่อค้า-แม่ค้า อย่างมาก เพราะด้วยเหตุที่ตั้งอยู่ในทำเลที่มีผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ ช่วงกลางวันคนเยอะสุดๆ

   โดยจะให้มาลงชื่อ-หย่อนบัตรประชาชน และจับจองล็อคจนครบ ทั้งนี้เพื่อความยุติธรรม และได้มีสินค้าใหม่ๆ หมุนเข้ามาในตลาดอยู่เรื่อยๆ นั่นเอง

4.)จองล็อคตลาดนัดเสนอสินค้า รูปแบบร้าน

     สำหรับ “จองล็อคตลาดนัด” บางที่ ที่เข้าได้ยากนั้น ก็อาจพอแทรกตัวเข้าไปได้บ้าง จากความน่าสนใจของตัวเราเอง  ทั้งนี้ต้องไปลงชื่อทิ้งไว้ เสนอโปรไฟล์ของเราไว้ ถ้าโปรโฟล์เราน่าสนใจอย่างมาก ทางตลาดเขาจะรีบเรียกให้เราไปลงขายเอง

   เพราะเขาก็ต้องการร้านดีๆ ร้านเก๋ๆ เข้ามาเสริมตลาดเขาเหมือนกัน  ฉะนั้นควรมีโปรไฟร์ร้านให้ดี  รูปแบบของตัวสินค้า รูปแบบร้าน ประวัติเจ้าของร้านอีกสักหน่อย ทำให้ดูดีที่สุด…ใครหละจะอดใจอยู่  ไม่กี่วันก็ได้เข้าไปขายเอง

5.) จองล็อคตลาดนัดปล่อยต่อ

    ในการ “จองล็อคตลาดนัด” อีกแบบที่นิยมกันมาก คือ จับล็อคจากคนที่เขามาปล่อย ส่วนใหญ่จะเป็นล็อคตลาดดังๆ ที่หาล็อคยาก ซึ่งเจ้าของล็อคบ้างคนทำเป็นกิจการ ทำเป็นล่ำเป็นสัน จองล็อคเพื่อมากินหัวคิว 

     จองล็อคแบบนี้…ต้องใช้ความระมัดระวังมากๆ เพราะหนึ่งผิดกฎของตลาดเขาแล้ว  ถ้าเขาจับได้ เขาไม่ให้ขายต่อ ทำประวัติไว้ด้วยแย่เลย  หรือบางทีเจอทำเลล็อคไม่ดี หรือลงขายในวันที่ไม่ค่อยมีคน อย่างนี้ ลงขายในช่วงหน้าฝน ก็แย่เหมือนกัน

   อีกทั้งราคาล็อคก็ยังแพงขึ้นอีกเท่าตัว หรือถ้าแย่มากๆ เจอพวกที่หลอกปล่อยล็อค เสียเงินฟรีๆเลยนะครับ  ผู้เขียนไม่แนะนำให้จองล็อคลักษณะนี้เลยครับ ไม่คุ้มด้วยประการทั้งปวง

6.)จองล็อคตลาดนัดแบบ 1 ครั้ง/ปี

     มีอีกตลาดอีกลักษณะ..ที่มีจะจองล็อคแบบปีละ 1 ครั้ง ขายได้ไปทั้งปี ส่วนใหญ่จะเป็นตลาดในสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย อาคารสำนักงานใหญ่บางที่ ที่เขาจัดการบริหารเอง

    เช่น มหาลัยแถวปทุมวัน หรือ อโศก ต้องมีการกรอกใบสมัคร รายละเอียดของเจ้าร้าน สินค้า ราคา และมีการคัดร้านเข้าทำสัญญาขายตลอดทั้งปี ถ้าร้านมีมากกว่าจำนวนล็อค ก็อาจทำการจับฉลาก เพื่อได้ผู้ชนะตามจำนวนที่กำหนด

     สำหรับ “จองล็อคตลาดนัด” นั้น  มีด้วยกันหลายลักษณะอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วเบื้องต้น การจองล็อคจึงต้องเรียนรู้และประตัวไปตามสถานการณ์  ทางที่ดีที่สุด คือ ลงมือทำจริง ออกไปหัดจองล็อค อยู่เรื่อยๆ…ไม่นานประสบการณ์ก็จะสอนเราให้เก่งเอง





Advertisements

คำอธิบายเพิ่มเติม:

ล็อคขาจร : ร้านที่ขายได้แค่วันเดียว จะขายต่อก็ต้องมาลงชื่อขายใหม่ (ทางตลาดจะจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อสำหรับขาจรโดยเฉพาะ)

ล็อคขาประจำ : ร้านที่ขายประจำ ขายได้ตลอดทั้งเดือน บางร้านผูกสัญญายาวไปเรื่อย หมดสัญญาก็เช่าต่อไปได้เรื่อยๆ ร้านลักษณะนี้เป็นร้านที่ดี มีคุณภาพ ทางตลาดจึงจัดล็อคประจำให้ไปเลย

“ล็อคหลุด” A2:  คือ ล็อคที่เจ้าของไม่มาขาย ในบางวัน เจ้าของร้านหยุดด้วยเหตุจำเป็น  ทำให้ล็อคนั้นว่าง  ทางตลาดก็จะทำการหาร้านใหม่มาลงขาย

ตัดล็อค(A3) : คือ กำหนดเวลาที่จะเข้าลงของขายได้ เช่น เวลาตัดล็อค 5 โมงเย็น  ผู้ค้าต้องมาลงขายก่อน 5  โมงเย็น ถ้าไม่มาลงขาย ทางตลาดจะตัดสิทธิ์ของเจ้าของล็อคในวันนั้น และทำการให้ผู้ค้ารายใหม่ ที่มาลงชื่อไว้ขายแทนทันที

…………………………………………………..

เขียนโดย แมวอ้วนหน่อยนะ
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com
(ข้อมูลลิขสิทธ์ โดยทีมงาน www.ทำเลขายของ.com )
ไม่อนุญาต “คัดลอก” รวมถึงในกรณี ที่จะใส่ลิ้งค์กลับ ก็ไม่อนุญาต เช่นกันนะครับ
อนุญาตให้ “แชร์” ได้ครับ
ขอบคุณครับ

ผู้สนับสนุน หมวดตลาดนัด

bannera1 bannera1 bannera1

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.