ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ คลีนฟู้ด (Clean Food) อาชีพมาแรง มาตีโจทย์ให้กระจุย
ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ คลีนฟู้ด (Clean Food) อาชีพมาแรง มาตีโจทย์ให้กระจุย
ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ คลีนฟู้ด (Clean Food) ธุรกิจของคนที่รักสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับความสนใจมากๆ ในขณะนี้ จากกระแสที่มาแรง และดูเหมือนว่าจะติดลมบนไปแล้ว เพราะใครๆ ก็อยากมีสุขภาพร่างกายที่ดี ดั่งคำพูดที่ว่่า “สุขภาพดีมาจากภายใน” การกินอาหารเพื่อสุขภาพ จึงเป็นหนึ่งกิจวัตรของคนรักสุขภาพนั่นเอง
ทำให้มีผู้สนใจอยากเปิดร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพกันมาก แต่จะต้องทำอย่างไร มีการวางแผนอย่างไร ต้องขายแบบไหน เป็นคำถามที่ผุดขึ้นในหัวก่อนลองมือทำ บทความนี้จึงมานำเสนอ เรื่อง ของการทำธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ อย่างละเอียดให้พอเป็นแนวทางในการนำไปใช้
Advertisements
ลูกค้าต้องการอะไร
ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ คลีนฟู้ด (Clean Food) สิ่งสำคัญก่อนลงกระโจนไปในเกมๆ นี้ ควรรู้ก่อนว่าลูกค้าต้องการอะไร ซึ่งสำหรับ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ นั้น อาจแบ่งได้เป็น 2 ความต้องการหลัก และ 1 ความต้องการย่อย (อ้าวงง.. เลยเรา หลักๆ ย่อยๆ)
1.เรื่องสุขภาพร่างกายที่ดี
เป็นเป้าหมายที่ลูกค้าต้องการ ขึ้นชื่อว่า อาหารเพื่อสุขภาพ สิ่งที่ต้องการก็คือเรื่องสุขภาพที่ดี ที่มีมาจากอาหารที่ดี อาหารที่ปลอดภัย อาหารทีไขมันต่ำ เป็นต้น
2.เรื่องของการลดน้ำหนัก
อีกกลุ่มลูกค้า ต้องการเรื่องการลดน้ำหนักด้วย อาหารเพื่อสุขภาพที่ควบคุมแคลอรี่ ไขมันน้อย สามารถช่วยควมคุมน้ำหนักได้จริง
3.เรื่องของความอร่อยและหลากหลาย
ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการ เรื่องสุขภาพ และ เรื่องของการลดน้ำหนัก แต่ก็ต้องการความอร่อย และไม่จำเจน่าเบื่อด้วย มีเมนูสับเปลี่ยนมาให้รับประทานอยู่เสมอๆ
สร้างความน่าเชื่อถือ ถึงจะมีโอกาส
สำหรับ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ คลีนฟู้ด (Clean Food) เป็นธุรกิจที่ต้องทำให้ลูกค้ามั่นใจในตัวสินค้าให้ วัตถุดิบที่เลือกใช้ ปริมาณต่อกล่องที่ต้องกำหนดไม่ให้เกินความต้องการของร่างกายในแต่ละมื้อ ความอร่อยที่ต้องมีเท่ากันทุกกล่อง ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าก่อน ถึงจะสามารถขายของได้ แล้วจะให้ลูกค้าเชื่อมั่นได้อย่างไรหล่ะ…
คำตอบ ก็อยู่ที่การสื่อสาร เครื่องมือต่างๆที่นำมาใช้ ในการอธิบายที่มาที่ไปของร้านเรา วัตถุดิบของเรา การทำอาหารของเรา ความสะอาดที่ทำให้อย่างเต็มที่ แล้วสื่อสารออกไปรูปแบบของ วิดีโอ , รูปภาพ , เนื้อหาสาระของอาหารที่เราได้พยารังสรรค์ขึ้นมา ให้เป็นเมนูสุขภาพเพื่อคุณลูกค้าโดยเฉพาะนั่นเอง ในการสื่อสารอาจเริ่มจากคนใกล้ตัวที่เรารู้จักก่อนก็ได้ เพราะเขาเชื่อใจเราอยู่แล้ว และค่อยขยายออกไปด้วยการบอกต่อ แต่ควรทำควบคู่กันไปด้วยกัน การสร้างความน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ
ช่องทางการจัดจำหน่ายของ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ คลีนฟู้ด (Clean Food)
1.Facebook
เป็นช่องทางยอดนิยมของการทำ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ เลยที่เดียว ควรมีการอัพเดทข้อมูลเรื่องสุขภาพด้วย อย่าอัพแต่สินค้าอย่างเดียว จะทำให้ลูกค้าเบื่อหน่ายไปเสียได้
2.ใกล้บ้านก่อนดีกว่า
ลูกค้าใกล้ๆ ก็ควรขายด้วยเหมือนกัน หากเป็นหมู่บ้านใหญ่ ทำใบปลิวไปตามแต่ละบ้าน ทำโปรแกรมอาหารเป็นรอบสัปดาห์ก็ได้ ผูกกับเขาเป็นมื้อเช้า มื้อเย็นก็ได้ เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาทำอาหารอยู่แล้ว แต่ความต้องการเรื่องสุขภาพมีอยู่เต็มเปี่ยม
3.คนรู้จัก ที่ทำงาน
หากมีคนรู้จักที่สนิดสนมกัน ก็ลองทำไปให้เขาชิม ให้ลองทานอาหารเพื่อสุขภาพ เหมือนทำมาจากที่บ้านเอง ดีกว่าไปฝากท้องขายแกงตามออฟฟิศ อาจมีความสนใจของเพื่อนๆ ในออฟฟิศ ทำให้มีออร์เดอร์ก้อนใหม่เข้ามา หรืออาจให้เป็นค่าตอบแทนกรณีที่มีตัวแทนที่อยากทำแบบจริงจังกันไปเลย
ทั้ง 3 ช่องทางเป็นการเซฟๆ ให้เท่านั้น ยังมีช่องทางการขายอีกมากมาย ขึ้นอยู่สิ่งแวดล้อมของแต่ละตนที่จะหาได้นะครับ
logistic ต้องวางแผน
การจัดส่งสินค้าต้องมีการวางแผน กำหนดพื้นที่การจัดส่งไว้เป็นรัศมีกิโลเมตรจากจุดผลิต โดยต้องดิวงานกับพี่วินมอเตอร์ไซต์เป็นระยะกิโลเมตรไว้เลย เช่น รัศมี 5 กิโลเมตร 60 บาท , 10 กิโลเมตร 80 บาท , เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการคิดค่าขนส่งกับลูกค้าได้ทันที อีกทั้งยังได้เรื่องสัญญาไว้กับพี่วินมอเตอร์ไซต์ด้วย และเพิ่มขึ้นตามจำนวนของลูกค้าที่มีเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
Advertisements
การตั้งราคาขายสำคัญสุดๆ
ในการตั้งราคาขายของ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ คลีนฟู้ด (Clean Food) ไม่แนะนำให้ตั้งราคาถูกเกินไป ให้ตักำหนดราคาตั้งแต่ปานกลางขึ้นไปจะดีกว่า แต่ก็อย่าให้สูงเกินงาม ดูกำลังของลูกค้าประกอบด้วย อาจเทียบจากราคาอาหารจานเดียวทั่วไป ที่มีราคา 35 – 40 บาท อาหารเพื่อสุขภาพควรเริ่มต้นที่ราคา 55 – 80 บาท/กล่อง ขึ้นอยู่กับเมนู และแนวทางการทำตลาดของแต่ละคน แต่อย่าทำราคาให้ถูกจนเกินไป ก็ด้วยเพราะ
1.จะขัดกับภาพลักษณ์ของตัวสินค้า กล่าวคือ สินค้าเพื่อสุขภาพ ในความคิดของลูกค้าทั่วไปคิดว่า ต้องใช้วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ ราคาสูง หากราคาขายต่ำ วัตถุก็น่าจะไม่ดี การใช้ราคามาเป็นตัวเรียกลูกค้าจึงไม่แนะนำ
2.ราคาถูกเกิน ยังทำให้กำไรน้อย หรืออาจขาดทุนได้เลย ควรตั้งราคาให้พอเหมาะกับความต้องการของลูกค้าดีกว่า คิดง่ายๆ ถ้าคุณเป็นลูกค้า คุณจะซื้อในราคาเท่าไหร่ที่สามารถทานได้ทุกวัน ในรายได้ที่คุณมี
สำหรับ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ คลีนฟู้ด (Clean Food) เป็นธุรกิจที่น่าสนใจสุดๆ แต่ก็มีรายละเอียดที่ต้องศึกษา และวางแผน ทำความเข้าใจให้ดี การฝึกฝีมือทั้งเรื่องอาหาร เรื่องกำลังคน สถานที่ทำงาน กำหนดพื้นที่การให้บริเการ ทุกสิ่งเป็นเรื่องต้องมีความชัดเจน หากเตรียมทุกได้เป็นอย่างดี ก็ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง และเมื่อได้ลงมือทำจริงๆ แล้วละก็ ความมั่นใจย่อมมีเต็มร้อย โอกาสทำธุรกิจนี้ให้สำเร็จก็เป็นไปได้อย่างแน่นอน…
เขียนโดย อาซาดะ ริวอิจิ
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com
ขอบพระคุณ มาก คับ ^ ^