bannera1
ซื้อแฟรนไชส์

คิดให้ดี ความแตกต่างระหว่างซื้อแฟรนไชส์กับการสร้างธุรกิจของตัวเอง

คิดให้ดี ความแตกต่างระหว่างซื้อแฟรนไชส์กับการสร้างธุรกิจของตัวเอง

       ในปัจจุบันคนไทยนิยมหันมาทำธุรกิจด้วยตัวเองกันมากขึ้นกว่าการไปเป็นลูกจ้าง จากข้อมูลตลาดของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันมีผู้ทำธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอยู่ที่มากกว่า 2.91 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 99.6 ของธุรกิจทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ใช้เงินลงทุนในธุรกิจไม่สูงเท่าไรนัก เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการเติบโตของประเทสไทยด้วย

จากข้อมูลเหล่านี้เห็นได้ชัดว่าผู้ทำธุรกิจในปัจจุบัน มีอยู่อย่างแพร่หลายในธุรกิจหลายประเภท หลายคนที่ประสบความสำเร็จด้วยการเปิดกิจการเป็นของตนเอง แต่อีกหลายคนก็ประสบความสำเร็จจากการซื้อแฟรนไชส์ โดยวันนี้ทีมงานเว็บไซต์ ทำเลยขายของ.com ได้รวบรวมข้อความแตกต่างระหว่างการเริ่มต้นสร้างธุรกิจด้วยเองจากศูนย์ กับการซื้อแฟรนไชส์ ไว้แล้ว ว่าแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ความแตกต่างในช่วงตอนเริ่มต้นของการทำธุรกิจ

       ในการสร้างธุรกิจด้วยตัวเอง จากการเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด นั้นต้องอาศัยการวางแผนธุรกิจละเอียด เพราะไม่มีใครมาเป็นแบบอย่างหรือมาบอกเล่าว่าต้องทำ ขั้นแรกยังไง ขั้นสองยังไง ขั้นต่อๆ ไปทำยังไง การวางแผนและบริหารทุกอย่าง คุณต้องคิดด้วยตัวเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดส่ง การขาย

นอกจากการวางแผนในการบริหารธุรกิจแล้ว คุณยังต้องวางแผนในเรื่องของการตลาด เพราะธุรกิจของคุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่อยู่ในตลาด เรื่องการสร้างแบรนด์ การกำหนดเป้าหมายธุรกิจ การวางรายละเอียดผลิตภัณฑ์ เช่นถ้าจะทำธุรกิจอาหาร จะต้องมีการวางเป้าหมายของสินค้าว่า เป็นอาหารประเภทไหน มีจุดเด่นอย่างไร ภาพลักษณ์ของร้าน กลุ่มลูกค้าคือใคร มีคู่แข่งในตลาดเป็นใคร ทุกๆ อย่างคุณต้องริเริ่มสร้างขึ้นเอง

Mission: ต้องคิดแผนธุรกิจทั้งระบบด้วยตัวเองทั้งหมด
ข้อดี คือ คุณสามารถควบคุมทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง จะแก้ไข ปรับปรุง สินค้าหรือบริการก็ทำได้อย่างรวดเร็ว





Advertisements

       แต่ในขณะที่ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ แต่ละแฟรนไชส์ (ที่เป็นระบบแฟรนไชส์จริงๆ ) จะมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เตรียมไว้อย่างเป็นระบบอยู่แล้ว เจ้าของแฟรนไชส์จะมีคนออกแบบระบบ และทำการทดลองในตลาดจริง จนกระทั่งสรุปผลการประเมินว่า ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้อะไรบ้าง ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องทำอะไรบ้าง

เราไม่จำเป็นต้องมาวิเคราะห์ สร้างรูปแบบธุรกิจเอง ไม่ต้องออกแบบแพคเกจผลิตภัณฑ์ ไม่ต้องพัฒนาจุดเด่นสินค้าเอง ไม่ต้องสร้างแบรนด์ด้วยตนเอง เช่น การซื้อแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกที่จะมีบรรจุภัณฑ์ของสินค้า รูปแบบการจัดร้าน หรือแม้กระทั่งสูตรต่างๆ มาให้เมื่อซื้อแฟรนไชส์

Mission: พิจารณาความเป็นไปได้แต่ละแฟรนไชส์ ว่าสามารถทำกำไรได้ตามคำโฆษณาหรือไม่
ข้อดีของขั้นตอนนี้ คือ คุณจะลดเวลา ลดความเสี่ยงจากการสร้างธุรกิจใหม่เอง หากคุณไม่มีความรู้ ประสบการณ์ เงินทุนมากพอ แต่คุณจะต้องปฏิบัติตามแนวทางของแฟรนไชส์เซอร์ ความยืดหยุ่นในการทำกำไรจะลดลง เพิ่มลดสินค้าใหม่เองไม่ได้

 

ความแตกต่างช่วงดำเนินธุรกิจ การเข้าสู่ตลาด การสร้างฐานลูกค้า สร้างความไว้วางใจในแบรนด์

       ในตลาดปัจจุบันนั้นทั้งตัวสินค้าและแบรนด์มีจำนวนมากมายมหาศาล ทั้งแบรนด์เล็กและแบรนด์ใหญ่ รวมถึงแบรนด์ใหม่ๆ พุดขึ้นราวกับดอกเห็ดยังไงยังงั้น ทำให้ผู้ที่สร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง จำเป็นต้องมีการวางตำแหน่งทางธุรกิจที่ชัดเจน การวางแผนการตลาดที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาดได้ ซึ่งแน่นอนว่า การจัดการทุกอย่างคุณต้องคิดสร้างสรรค์ทั้งหมดด้วยตัวคุณเอง

ซึ่งการพยายามสร้างแบรนด์ใหม่ การเข้าสู่ตลาด การสร้างฐานลูกค้า ก็จะต้องใช้เวลาไม่น้อย และมักจะเสียเปรียบผู้ที่เข้าสู่ตลาดก่อนเรา เนื่องจากคู่แข่งเหล่านั้นมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสินค้าต้องมีความโดดเด่น มีลักษณะเฉพาะตัว มากพอที่จะทำให้ผู้บริโภคสนใจ และช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดมาได้

Mission: ปฏิบัติตามแผนธุรกิจที่วางไว้ในตอนแรก พร้อมกับต้องปรับตัว พัฒนาตามการแข่งขันตลอดเวลา

ในขณะที่การซื้อแฟรนไชส์ เป็นการซื้อระบบธุรกิจ มีการวางกลุ่มเป้าหมายมาค่อนข้างชัดเจน มีภาพลักษณ์จากแบรนด์ในระดับหนึ่ง ใช้สาขาของแฟรนไชส์กำหนดพื้นที่ขาย หากต้องการขยายสาขาก็เพียงซื้อแฟรนไชส์เพิ่มเท่านั้น

Mission: ปฏิบัติตามแผนธุรกิจที่แฟรนไชส์เซอร์กำหนดมา หากขาดทุนก็เพียงแต่เลิกสัญญาเท่านั้น

 



Advertisements

       นอกจากข้อเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัดเจนตามที่ยกมาแล้ว การเริ่มสร้างธุรกิจด้วยตัวเอง ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกจำนวนมาก ซึ่งหากคุณยังไม่มีความพร้อมเพียงพอ ก็ควรที่จะศึกษาแนวทางจากธุรกิจอื่น หรือมองหาซื้อแฟรนไชส์ที่คุณคิดว่าน่าสนใจ มาศึกษา business model ของเขาก่อน แล้วค่อยขยับขึ้นไปสร้างธุรกิจของตัวเองก็ได้

copyright

ผู้สนับสนุน หมวดแฟรนไชส์

bannera1

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.