bannera1
จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิตชาวนาเงินล้าน(ความสุขไม่จำกัด)

จากความสำเร็จของชีวิตรูปแบบหนึ่ง…
กลับโหยหา…
 
ความสุขอีกรูปแบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน..
เรื่องราวของสองคู่ชีวิตที่รักอิสระ.. 
ที่ถูกพันธนาการด้วยหน้าที่การงาน…  ความรับผิดชอบ
จึงออกค้นหา…
มิติใหม่ แห่ง ชีวิต
ความหมายใหม่ของชีวิต…
ที่คำตอบของความสุข  ไม่ใช่แค่ “เงิน” เป็นคำตอบสุดท้าย..

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
ชีวิตคู่นักท่องโลก..

ถึงขีดสุดในหน้าที่การงาน แต่ใช่เป็นคำตอบของความสุข
  เรื่องราวของ  “คุณ นิศารัตน์ นาครัตษ์” และ  “คุณกานต์ ไครทอง” มนุษย์อย่างเราๆ  ที่ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาเล่าเรียน ตามวิถีแห่งมนุษย์ยุคปัจจุบัน  การเรียนที่ดี จะได้รับหน้าที่การงานที่ดีตามไปด้วย…  
   ก็เป็นตามเส้นทางของชีวิต…  เรียนจบปริญญาโท จุฬาลงกรณ์  ก็ไปทำงานที่สำนักงานข่าวรอยเตอร์ ที่ประเทศสิงคโปร์ จากปี ก็เป็นสองปี  ยิ่งนานวัน..  หน้าที่การงานยิ่งมากขึ้น.. แต่หาใช่ความต้องการที่แท้จริงไม่..
   ซึ่งทั้งสองคนเป็นคนชอบท่องเที่ยว..  มักไปเที่ยวสถานที่ใหม่ๆ อยู่เสมอ..  ด้วยข้อจำกัดของงาน ทำให้เวลาน้อยลง  จึงต้องหาหนทางใหม่  สู่เส้นทางที่ “มีทั้งงาน และ มีทั้งเวลา”

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
ผืนนาที่รอคอย…

บทแรก ส่ง คุณฝน ( นิศารัตน์ ) มาชิมรางก่อน..
    ในสมัยปัจจุบัน “เงิน” ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย… 
    แต่ก็ต้องมีบ้างเพื่อดำรงอยู่ในสังคมปัจจุบัน..

    คุณฝน จึงตัดสินใจ ลาออกมาก่อน กลับประเทศไทย เพื่อหาอาชีพ หาช่องทางที่สามารถสร้างรายได้  โดยยังให้คุณกานต์ คงทำงานอยู่ที่สิงคโปร์  ต่อไป..  เพื่อเป็นแผนบี เป็นรายได้ที่ยังมีเข้ามาเป็นประจำ

   โดยเริ่มแรก “คุณฝน” ไปเรียนทำขนมเบเกอรี่ อาชีพที่ผู้หญิงถนัดและชอบ  แต่สุดท้ายกลับตัดสินใจ  ไปที่อาชีพชาวนา  อาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ แต่งานที่ไม่เคยทำย่อมมีอุปสรรค.. การทำนาครั้งแรก บนพื้นนา 12 ไร่  ในอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี กลับล้มเหลว  จึงต้องหาองค์ความรู้ มาเพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง…

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
ไอดิน.. กลิ่นธรรมชาติ

ก้าวสู่ โรงเรียนชาวนา “ข้าวหอมอินทรีย์”
     การทำนาไม่ใช่เรื่องง่าย “คุณฝน” จึงเข้าอบรมเรียนใน โรงเรียนชาวนา กับ อาจารย์ “สุวัฒน์ ทรัพยะประภา”  เรียนรู้จักข้าวที่จะทำ พื้นฐานการปลูกเป็นอย่างไร..

พันธุ์ข้าวที่จะต้องใช้ปลูก : การคัดสรรพันธุ์ พันธุ์ข้าวที่ต้องให้ผลผลิตดี และเก็บรักษาพันธุ์เพื่อปลูกในครั้งต่อไป
การเตรียมดิน : การไถดิน , กำจัดวัชพืช , ปรับหน้าดินให้ได้ระดับเท่ากัน (อาจต้องมีการปลูกพืชอื่น เพื่อไถกลบ)
การเตรียมน้ำ : ต้องจัดสรรน้ำ เป็นช่วงเวลาให้เหมาะสม ช่วงไหนน้ำมาก ช่วงไหนต้องเอาน้ำออกให้หมด
การทำนาปี แบบดำนา : ทำได้ปีละครั้ง
การจำกัดศัตรูพืช : ทั้งแมลง , ทั้งหญ้าวัชพืช , ทั้งสัตว์กินข้าว ที่มีข้อแม้ว่า ต้องปลอดสาร ไม่มีเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง

ซึ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการทำนา ที่ชาวนาควรรู้  เมื่อมีพื้นฐานที่ดี ผลที่ได้ก็เป็นที่น่าพอใจ..

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
ฟ้าสีคราม.. 

พัฒนา ต่อยอด..
   
การทำนาจำนวนน้อยไม่กี่ไร่  สามารถใช้แรงงานไม่กี่คนก็ได้..
    แต่เมื่อจะทำเป็น 100 ไร่  ต้องหาวิธีจัดการให้ได้..

     ช่วงนี้เป็นช่วงที่คุณกานต์  ได้ลาออกจากอาชีพนักข่าวที่สิงคโปร์ ออกมาช่วยคุณฝนอย่างเต็มตัว  ทิ้งตำแหน่งผู้ดูแลภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกไว้เบื้องหลัง มุ่งหน้าสู่ท้องนากลิ่นดินบ้านเรา…
     สองคนได้ช่วยคิดหาวิธี ที่จะทำนาให้ได้จำนวนไร่มากขึ้น คือ นำเครื่องจักรต่างๆ  เข้ามาช่วยลดแรงงาน ทั้งรถไถ , รถเกี่ยว , จ้างรถมาปรับหน้าดิน ซึ่งก็สามารถทุนแรงงานไปได้มาก  ในพื้นนา 100 ไร่  ใช้แรงคนไม่ถึง 10 คน

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
รวมแรง…  รวมใจ…

ปัญหายังมีมาเลยๆ..

    เมื่อได้ผลผลิตที่ดี เป็น “ข้าวหอมกล้องอินทรีย์” ปอดสาร 100 %  ซึ่งราคาขายปลีกก็ได้ราคาดี  แต่เงินดันไม่ถึงมือคนปลูก  กำไรส่วนต่างตกอยู่ในกระเป๋าใครบ้างคน(พ่อค้าคนกลาง)  กว่าจะถึงมือคนกิน  ผ่านพ่อค้าคนกลางไม่รู้กี่ทอด

ทำให้ทั้งสองคน คิดภาพกว้าง ทำทุกอย่างให้จบทุกกระบวนการ..
    “ทั้งปลูก ทั้งสี ทั้งบรรจุ  และจำหน่ายเอง”
      เพื่อลดคนกลาง ให้เงินตกถึงมือเกษตรกรตัวจริง…

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
“สีเขียว แห่ง ความหวัง”

การตลาด ทำให้ต้อง คิดทั้งระบบ..
งานนี้ต้องจัดการทั้งระบบ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1.ปลูกข้าวเอง : จุดนี้ทำได้แล้ว  
2. ตั้งโรงสี
    สร้างโครงอาคาร จัดหาเครื่องสีข้าว ที่มีกำลังผลิตใกล้เคียงกับผลผลิตเป้าหมาย , อาจต้องมีเครื่องยิงสี เพื่อคัดคุณภาพข้าวทุกเมล็ด , ต้องมีโรงเก็บข้าวที่ได้คุณภาพ สามารถควบคุมความชื่นและอุณหภูมิ เพื่อคงความใหม่,ความหอม ไว้ได้ตลอดทั้งปี พร้อมสีเพื่อป้อนตลาดได้ตลาดทั้งปี
3.บรรจุ :
   เน้นที่เรียบง่าย อิงธรรมชาติเป็นหลัก ทั้งโทนสี และวัสดุที่ใช้ ยังคงคอนเซ็ปความเป็นธรรมชาติ , ต้องมีแบรนด์ของตัวเอง , ใช้เครื่องพิมพ์ขนาดเล็กๆ ให้สอดรับกับจำนวนการผลิต
4.ขายปลีก : ออกบูธขายตามงานแฟร์ ในกรุงเทพ งานอาหารสีเขียวต่างๆ เพราะในเมืองมีกำลังซื้อดี  ต้องการของมีคุณภาพสูง ปลอดภัยมากๆ

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
สปาเก๊ตตี้ ชาวนา (ซักจานไหมครับ)

ราคาขาย และ ยอดขาย
     ปัจจุบัน บริษัท มีฟาร์มสุข (ไม่) จำกัด ได้ออกสินค้า ในแบรนด์ “ข้าวหอมคุณยาย” ขายในประเทศ และ ต่างประเทศ(สิงคโปร์) ซึ่งราคาขายปลีก 140 บาท/ก.ก. , หากที่สิงคโปร์ราคาขายอยู่ที่ 360 บาท/ก.ก. สูงกว่าราคาท้องตลาดมาก

ส่วนในเรื่องกำลังการผลิต แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ของ
    1.บ.มีฟาร์มสุข (ไม่) จำกัด = มีพื้นที่ปลูก 100 ไร่
    2.ชาวนาในกลุ่ม ประมาณ 4 ราย = มีพื้นที่ปลูก 100 ไร่ 

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
สีเหลืองทองผ่องอำพันธ์

คำนวณแบบบ้านๆ(เป็นการคำนวณของผู้เขียนเอง)
    – ข้าว 1 ไร่  ให้ข้าวเปลือก 800 กิโลกรัม
    – ข้าวเปลือก 800  ก.ก , สีแล้วจะได้ข้าวกล้องประมาณ 480 ก.ก
    – ฉะนั้น ข้าว 1 ไร่ >>> จะได้ข้าวหอมกล้องประมาณ 480 ก.ก
    – พื้นนาทั้งหมด 200 ไร่  ก็จะได้ข้าวหอมกล้องราว 96 – 100 ตัน/ปี
    – หากมีแหล่งน้ำเพียงพอ ก็จะปลูกได้ 2 รอบ , ผลผลิตก็จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
    – มีต้นการผลิตราว 2,000 – 3,000 บาท/ไร่

    ซึ่งปัจจุบัน “บ.มีฟาร์มสุข (ไม่) จำกัด” สามารถผลิตข้าวหอมบรรจุถุงได้เดือนละ 10 ตัน/เดือน , ใน 1 ปี ผลิตได้ 120 ตัน/ปี , คิดเป็นเงินประมาณ 1.4 ล้านบาท/เดือน , 16.8 ล้านบาท/ปี
    และตั้งเป้าหมายการผลิตไว้ที่ 350 ตันข้าวสาร  ก็จะไม่ขยายตลาดต่อไป..  เพื่อคงคุณภาพสินค้า , คงคุณภาพลูกค้า , คงคุณภาพเพื่อนรวมงาน , และคงคุณภาพชีวิตของตนเอง…

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
จากใจคนปลูก ส่งถึงผู้บริโภค

เวลา คือ สิ่งมีค่า
     จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ สิ่งล้ำค่าที่สุด… ของ “คุณนิศารัตน์ นาครัตษ์” และ  “คุณกานต์ ไครทอง”  ก็คือ  “เวลา”  
เวลาที่มนุษย์ทุกคนมีเท่ากัน… เพียงแต่จะจัดสรรมันอย่างไร…  ให้ได้มาทั้งเวลา และ ปัจจัยในการดำรงชีวิต..
    ซึ่งทั้งสองได้พิสูจน์ให้เห็น ด้วยการเป็น “ชาวนา” อาชีพดั้งเดิมของคนไทย  ที่ทำให้ มีทั้ง “เวลา และ เงินทอง” คำตอบของชีวิตที่เฝ้าเพียรตามหา..  หลังจากนี้คงต้องใช้เวลาอย่างคุมค่า กับสิ่งที่ได้มาอย่างภาคภูมิใจ…

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
สิงคโปร์ คู่ค้าต่างประเทศ

อาชีพจะสูง หรือ จะต่ำ ไม่สำคัญ..
สำคัญที่สุด..  คือ ความภาคภูมิใจ..
การที่จะทำอะไรบ้างอย่างให้สำเร็จ.. เป็นเรื่องท้าทาย…
แต่หากเมื่อคุณทำได้…  ความสุขแบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน…  จะพลุ่งพล่านอยู่ในคัวคุณ…

เขียนโดย อาซาดะ ริวอิจิ
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com

ข้อมูลธุรกิจ
Head Office:
1912/1 Moo 1, Rangrodfaisaikao Road, Somrong Nua, Muang, Samutprakarn, Thailand 10270

Rice Field & Rice Mill
30/1 Moo 6, Nong Sang District, Saraburi Province, Thailand 18170
Mobile: 081-822-7924
Fax: 02-744-3556
e-mail: fon_latte@me.com





Advertisements

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
พักผ่อน เบา ๆ (วิถีชาวนา สายโยคะ)

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
ชาวนาวันหยุด @ Mount Titlis Engelberg Switzerland

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
มีเวลาเหลือ มีความสุข ทุกรสชาติ

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
อนาคตจากธรรมศาสตร์  มาเยือนถึงที่…

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
คู่ใจ.. สองเรา..

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
รถประจำตำแหน่ง..

จากชีวิตนักข่าวสำนักงาน ‘Reuters’ สู่ชีวิต “ชาวนาเงินล้าน” (ความสุขไม่จำกัด)
ที่นี้แห่งความสุข…





Advertisements

copyright

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.