bannera1
ธุรกิจจักรยานนำเข้า

ธุรกิจจักรยานนำเข้าที่มียอดขาย หลักล้าน/ปี หนึ่งเดียวกับ 22 แบรนด์ชั้นนำ

ธุรกิจจักรยานนำเข้าที่มียอดขาย หลัก ล้าน/ปี  

    จากความชอบขี่จักรยานในวัยเด็ก กับความฝันที่อยากเป็นนักปั่นระดับโลก แต่กับพลิกผันสู่เจ้าของธุรกิจนำเข้าจักรยานแบรนด์ดัง เส้นทางชีวิตของ “คุณนพปฎล พิริยะกุล” ชายผู้มีความฝันและความเพียรพยายามเป็นที่ตั้ง “จากจุดต่ำสุด สู่จุดสูงสุดของชีวิต” อะไรที่นำพาเขาผู้นี้สู่ความสำเร็จ เคล็ดลับอันใดเล่า ที่ทำให้เขามีวันนี้ กับเจ้าของธุรกิจจักรยานนำเข้าที่มียอดขาย หลักล้าน/ปี  





Advertisements

เจอความผิดหวัง แต่ยังคงอยู่ในเส้นทางความฝัน ธุรกิจจักรยานนำเข้า
    เมื่อสมัยวัยเด็ก คุณนพปฎล เป็นเด็กชอบขี่จักรยานมาก อยากได้จักรยานที่เรียกว่า mountain bike ซึ่งราคาอยู่ที่ประมาณหมื่นกว่าบาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงเอาการสำหรับครอบครัวฐานะปานกลาง การได้มาซึ่งจักรยานคันแรกนั้นต้องแรกด้วยการสอบให้ได้ที่ 1 สองเทอมติด คุณพ่อคุณแม่ถึงจะซื้อให้  พอได้จักรยานมาอย่างที่หวังแล้วก็นำไปแข่งขัน  ในครั้งแรกที่แข่งขันก็สามารถได้ที่สอง และพยายามฝึกอย่างหนักอย่างต่อเนื่อง จึงก้าวสู่แชมป์ประเทศไทยได้ในที่สุด  แต่ความฝันยังไม่สิ้นสุด “ต้องเป็นนักปั่นอาชีพให้ได้”
    จึงออกไปตามหาฝัน มุ่งหน้าสู่ประเทศเบลเยี่ยม เพื่อไปเป็นนักแข่งจักรยานมืออาชีพให้ได้ ด้วยเงินทุนก้อนเดียว 30,000 บาท ที่ได้จากคุณแม่ เงิน 22,000 เป็นค่าตั๋วเครื่องบิน เหลือเงินอีกแปดพัน ที่จะเป็นเงินในการอยู่อาศัยที่ประเทศเบลเยี่ยม ต้องทำงานพิเศษ และเรียนไปด้วย
    วันหนึ่งมีเพื่อนที่รู้จักร้านจักรยานของ  เอ็ดดี้ เมิร์ก (Eddy Merckx) แชมป์ตูร์เดอฟรองซ์ 5 สมัย จึงได้มีโอกาสไปคัดตัว  โดยในการคัดตัวต้องแข่งกับเด็กอายุ 12 ปี เท่านั้น “ในใจคิดว่า สบายมาก งานนี้กินหมู” แต่กับแพ้อย่างไม่เป็นท่า  ด้วยเหตุที่ว่า ในต่างประเทศตอนนั้นเริ่มมี วิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วยนักกีฬาอย่างมาก ทำให้คุณนพปฎล เริ่มหมดหวัง…

 ธุรกิจจักรยานนำเข้า

ยังหาฝันในเส้นทางเดิม แค่เปลี่ยนรูปแบบ ธุรกิจจักรยานนำเข้า
    หลังจากเหตุการณ์ในวันที่พ่ายแพ้ ได้มีโอกาสไปดูร้านขายจักรยานซึ่งเป็นร้านของพวกมืออาชีพที่ประเทศเบลเยี่ยม  มีลูกค้ามากมาย ทั้งที่มาซื้อและมาซ่อมจักรยาน  ด้วยเป็นคนรักจักรยาน จึงคิดว่า “ถึงไม่ได้เป็นนักแข่งมืออาชีพ  ขอเป็นเป็นคนขายจักรยานก็ได้”  ก็ยังอยู่กับจักรยานที่เรารักอยู่ดี  น่าจะเป็นธุรกิจไปได้ดี เมื่อกลับเมืองไทย  หลังจากนั้นทุกอย่างจึงเริ่มต้นความฝันอีกครั้ง  ด้วยความคิดแรกที่ต้องการนำจักรยานและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงจากต่างประเทศมาขายในประเทศไทย ในรูปแบบผู้แทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยนั่นเอง

 ธุรกิจจักรยานนำเข้า

นำหน้าก่อนหนึ่งก้าว ด้วยการขอเป็นผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทย
    “การได้เปรียบทางการค้า ด้วยวิธีเป็นผู้จำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในไทย คือ กำแพงป้องกันคู่แข่งเป็นอย่างดี” คุณนพปฎล พิริยะกุล เริ่มต้นด้วยสินค้าชิ้นแรก คือ หมวก ที่เป็นแบรนด์จากอิตาลี่  แต่ไม่ง่ายเลยสำหรับมือใหม่ ที่ต้องการสินค้าที่มีชื่อเสียงมาขายในไทย  เจ้าของสินค้าจากประเทศอิตาลี่ ต้องการผู้แทนที่มีคุณภาพและมีความเข้าใจตลาด เข้าใจกลุ่มลูกค้า เป็นอย่างดี  เมื่อเจ้าของสินค้าต้องการมาเยี่ยมชมบริษัทของคุณนพปฎล ที่ประเทศไทย เพื่อการตัดสินใจให้เป็นตัวแทนจำหน่ายในไทย นั้น…
    “ทำยังไง หล่ะทีนี้” คุณนพปฎล คิดหนักเลย ทั้งบริษัทมีเราอยู่คนเดียว…
    “มาก็มา ลองดูซักตั้ง” คุณนพปฎล เริ่มด้วยการจองโรงแรมชั้นหนึ่ง คืนละหมื่นกว่าบาท ให้เขาพัก  พร้อมแจ้งไปล่วงหน้าว่าบริษัทของคุณนพปฎล กำลังปรับปรุงโฉมใหม่อยู่อาจไม่ค่อยเรียบร้อย (ทั้งที่จริงมีแค่โต๊ะตัวเดียวเท่านั้นเอง)  ฝรั่งก็ไม่ว่าอะไร เมื่อไม่ได้ไปดูบริษัท ขอไปดู Dealer ก็ได้ คุณนพปฎล ก็ใช้วิธีพาไปดูตามร้านจักรยานต่างๆ ซึ่งไม่ได้เป็นดีเลอร์กันเลย อันที่จริงต้องบอกว่ายังไม่เคยติดต่อกันด้วยซ้ำ  เพียงแต่พาฝรั่งไปดูร้านต่างๆ ก่อนที่จะไปติดต่อจริง ซึ่งฝรั่งก็ไม่รู้ด้วยว่าเป็นดีเลอร์จริงหรือเปล่า แต่ก็ได้รู้ว่า คุณนพปฎล มีช่องทางการจำหน่ายอยู่มือ  หลังจากนั้นจึงได้เป็นผู้แทนจำหน่ายในไทยแต่เพียงผู้เดียว กับสินค้าตัวแรก

 ธุรกิจจักรยานนำเข้า

ช่องทางการขายไม่ง่ายอย่างที่คิดใน ธุรกิจจักรยานนำเข้า
    “การนำไปจำหน่ายไม่ง่ายเลย ที่จะได้เอาสินค้าไปให้ร้านต่างๆ ช่วยขาย”
      ครั้นเมื่อได้สินค้า หมวก แบรนด์จากอิตาลี่มาแล้ว  ถึงเวลาลงสนามจริงแล้ว ต้องหาที่ไปวางสินค้าขายให้ได้  คุณนพปฎล ใช้วิธีเดิมๆ วิ่งเข้าหาร้านขายจักรยาน ทั่วประเทศ จากเหนือสุดถึงใต้สุด ต้องเพียรพยามยามกว่า 7 เดือน ถึงเริ่มได้วางสินค้า ยอดขายเริ่มขยับบ้าง การขายให้กับร้านค้าปลีกนั้น ต้องมีวิธีการและกลยุทธ์พอควร โดยสรุปธุรกิจนี้ มีดังนี้
1.ไปแล้วไปอีก
    เข้าไปครั้งแรกยังไม่คุ้นเคย เข้าไปอีกครั้ง และเข้าไปอีกครั้ง กว่าได้วางสินค้าได้ต้องใช้เวลา
2.Presentation ถือเป็นเรื่องสำคัญ
    การนำเสนอเป็นเรื่องที่เตรียมตัวให้ดี
3.เข้าใจร้านค้า เข้าใจลูกค้า :
    ต้องเข้าใจร้านค้าปลีกเขาต้องการอะไร ( อยากได้สินค้าที่ดี ขายได้ง่าย มีกำไร)
    ต้องเข้าใจลูกค้าที่ซื้อไปต้องการอะไร (อยากของที่ดี ราคาไม่แพง)
4.เครดิต
    การขายให้ร้านค้าปลีก ต้องให้เครดิตเขา ต้องดูเรื่องระยะเวลาของการให้เครดิต และความหน้าเชื่อถือของร้านเขาด้วย ว่าจะจ่ายเช็คให้เราได้ไหม เช็คจะเด้งหรือเปล่า เรื่องนี้เป็นศาสตร์ที่ต้องฝึกฝนเอง
    ใช้เวลาอยู่ซักระยะ คุณนพปฎล ก็สามารถมีร้านค้าปลีกเพิ่มขึ้นเลยๆ





Advertisements

22 แบรนด์ชั้นนำ อยู่ในมือหนึ่งเดียวคนนี้ ธุรกิจจักรยานนำเข้า
    เมื่อสำเร็จไปหนึ่งสินค้า ก็บุกตะลุยต่อไปเลย จากนั้นเริ่มขอเป็นผู้แทนในประเทศไทย ไปทีละแบรนด์ จนปัจจุบันมีมากถึง 22 แบรนด์ ที่อยู่ในมือของคุณนพปฎล สร้างยอดขายได้ปีละกว่า 5,000 คัน คิดเป็นรายได้กว่า 120 ล้านบาท เลยทีเดียว

รู้ให้จริง เพียรให้สำเร็จ ชำนาญแต่อย่างเดียว คือ สุดยอดเคล็ดลับของ ธุรกิจจักรยานนำเข้า
ความสำเร็จของ ธุรกิจจักรยานนำเข้า ที่คุณนพปฎลสร้างขึ้นมานั้น ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ นั้นก็คือ
1.ความเพียรพยายาม :
    จากจุดเริ่มต้นที่ศูนย์ หากไม่มีความเพียร คงยากที่จะมาถึงจุดนี้
2.รู้ในเรื่องที่จะทำ และรู้ให้ลึกซึ้ง : 
    เมื่อคิดทำสิ่งใดแล้วต้องรู้ให้ถึงที่สุด ในเรื่องนั้นๆ
3.พัฒนาอย่างต่อเนื่อง :
    ด้วยรู้แต่เรื่องจักรยานอย่างเดียวนั้นยังคงไม่พอ  ต้องหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการทำธุรกิจอีกด้วย

    จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไม ธุรกิจจักรยานนำเข้า ของคุณนพปฎล พิริยะกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พิริยะ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด วัย 34 ปี ผู้จัดจำหน่ายจักรยานและอุปกรณ์ชั้นนำกว่า 22 แบรนด์ ถึงได้ประสบความสำเร็จระดับนี้ สร้างยอดขายกว่า 120 ล้านบาท/ปี  แต่หากนำข้อคิดต่างๆ ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของคุณ  คุณก็อาจเป็นธุรกิจร้อยล้านได้เช่นกัน…

เขียนโดย อาซาดะ ริวอิจิ
ลิขสิทธิ์โดย อาซาดะ ริวอิจิ
ทำเลขายของ.com

ข้อมูลธุรกิจ
Piriya International Co., LTD.
48/62,63 Soi Praditmanuthum19 Praditmanuthum Road Ladphrao Bangkok 10230 Thailand
Tel: (+66)515 0179
Fax: (+66)515 0102
Hotline: (+66)8 7673 1331, (+66)8 5661 1923
http://www.piriya-international.com/

copyright

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.