bannera1
ทำเลขายของ.com

6 ข้อที่ต้องรู้ กับการซื้อเฟรนไชส์อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

6 ข้อที่ต้องรู้ กับการซื้อเฟรนไชส์อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

       เฟรนไชส์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่ลดความเสี่ยงได้ดีธุรกิจหนึ่ง จากการสำรวของนิตยสารตั้งตัวพบว่า ประเทศไทยมีเฟรนไชส์ประมาณ 75,000-85,000 แห่ง มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 20% ต่อปีหรือประมาณ 8,000สาขา และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยแล้วปีละประมาณ 25% ด้วยปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการเปิดเสรี และอื่นๆประกอบกันอีกมาก ทำให้ผู้ที่ต้องการเริ่มเป็นผู้ประกอบการหันมาให้ความสนใจกัยตลาดธุรกิจเฟรนไชส์มากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการประสบความสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อเฟรนไชส์ด้วย ซึ่งได้มีการรวบรวมไว้ดังนี้





Advertisements

การประเมิณความต้องการของตนเอง

       การเริ่มต้นที่จะทำธุรกิจที่ดีควรเริ่มจากการมองตัวเอง มองดูและประเมิณศักยภาพของตัวเองก่อน ทั้งด้านสถานะทางการเงินว่ามีมากน้องเพียงใด เป้าหมายและความสามารถของตนเองว่าเหมาะกับธุรกิจประเภทไหน และความต้องการคืออะไร เช่นรายได้ต่อปีที่คุณต้องการและคาดหมายไว้ รายได้ต่อเดือนและประเภทธุรกิจที่สนใจ หลักต้นๆที่จะสามารถเข้าใจถึงความต้องการของตนเองได้คือการตั้งคำถามง่ายๆเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริง เช่น ธุรกิจใดที่สอดคล้องกับความชอบส่วนตัวและงานอดิเรกที่ทำประจำ ธุรกิจใดที่ตนเองมีความชำนาญเฉพาะด้าน มีประสบการณ์ในการทำงานที่เคยผ่านมา มีความรู้ด้านนั้นเฉพาะ หรือมีทักษะด้านนั้นอย่างโดดเด่น แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือการวิเคราะห์ตนเองถึงความต้องการด้านรายได้ เช่นการตั้งเป้ารายได้ต่อเดือน ต่อปี เป็นต้น

ศึกษาผู้ขายแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์เซอร์ อย่างละเอียด

       ก่อนที่จะสามารถเริ่มต้นลงทุนในธุรกิจใดๆนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการศึกษาผู้ที่เราต้องการซื้อธุรกิจมาลงทุนเสียก่อน ทั้งการหาแบรนด์ที่เหมาะสมกับความต้องการตัวเราเอง การศึกษาเงื่อนไขการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการดูแลฝึกอบรมของผู้ขายแฟรนไชส์ระหว่างการดำเนินการ ด้วยเหตุที่ว่าการศึกษาเรื่องการดูแลและสิ่งที่จะได้รับจากการซื้อแฟรนไชส์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถวางแผนการดำเนินธุรกิจได้ เช่น บางแฟรนไชส์มีการจัดอบรบพนักงานให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ มีการดูแลเรื่องการตลาดและการโฆษณาเพื่อช่วยในการทำการตลาดแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ แต่เนื่องจากในปัจจุบันผู้ขายแฟรนไชส์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีจำนวนแฟรนไชส์ให้เลือกซื้อเป็นจำนวนมากสิ่งสำคัญที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับผู้ขายแฟรนไชส์มีดังนี้

       – ผู้ขายแฟรนไชส์มีความความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับธุรกิจนั้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการถ่ายทอดความรู้และการทำธุรกิจสู่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้
       – ผู้ขายมีการจดลิขสิทธิ สิทธิบัตรหรือสูตรต่างๆเป็นของตนเองและสามารถส่งต่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้อย่างครบถ้วน

       – สัญญาต่างๆในการซื้อแฟรนไชส์ที่จะไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ผู้ทำธุรกิจแฟรนไชส์ทุกรายที่จะประสบความสำเร็จ ทำให้การศึกษาเรื่องสัญญาที่ต้องทำกับผู้ขายแฟรนไชส์ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ เช่นธุรกิจแฟรนไชส์บางธุรกิจมีการหักค่าสินค้า หักด้านการตลาดหรือแม้กระทั่งเปอร์เซนต์จากยอดกำไรหรือยอดขายในลักษณะที่เอาเปรียบผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย

       – เงื่อนไขที่ผู้ขายแฟรนไชส์จะคุ้มครองผู้ซื้อแฟรนไชส์ แข่งเขตการขายหรือบริเวณการขาย ราคาขายต่อหน่วย ก็เป็นส่วนที่ต้องพิจารณา
       – ประวัติเจ้าของแฟรนไชส์ ผลการดำเนินการและระยะเวลาการก่อตั้งว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

       – ความเป็นไปได้ในอนาคตของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ ว่าน่าจะมีโอกาสการเติบโตหรือไม่ไม่ใช่เพียงการเติบโตด้านการขยายสาขาเท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาคือมีการเติบโตด้านปริมาณและความต้องการของลูกค้าหรือ ความนิยมที่มากขึ้นหรือไม่เพียงเพราะธุรกิจนั้นจะมีสาขาที่มากขึ้นแต่ตลาดมีความต้องการที่น้อยกว่าก็ไม่อาจทำให้ประสบความสำเร็จได้

       – สถานะของธุรกิจ ต้องมั่นใจว่าเป็นธุรกิจที่มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีฐานะการเงินที่เชื่อถือได้

ทำเลขายของ.com

สำรวจตลาดและสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้

       เนื่องด้วยในตลาดปัจจุบัน ธุรกิจแฟรนไชส์สินค้าอุปโภคและบริโภคมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ที่สำคัญในการเลือกซื้อแฟรนไชส์คือธุรกิจนั้นจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ จากการศึกษาของนายวีรเดชกล่าวว่า แฟรนไชส์ที่มีการซื้อขายกันมากที่สุดคือธุรกิจในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใช้เงินลงทุนอยู่ที่ระหว่าง 50,000-300,000 บาท เฉลี่ยเป็นอาหารคาว อาหารหวาน หรืออาหารที่กินเล่นๆในสัดส่วนที่เท่าๆกัน ทั้งนี้เนื่องจากตลาดและความต้องการของอาหารนั้นเป็นความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่สิ้นสุดด้วยว่าอาหารคือหนึ่งในปัจจัยสี่ เป็นต้น

วิเคราะห์ด้านการตลาดของสินค้าแฟรนไชส์นั้นๆ

       อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นถึงการเติบโตและจำนวนของธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีอยู่จำนวนมาก ทำให้ธุรกิจที่มีจุดเด่นแตกต่างจากธุรกิจอื่น ได้รับความสนใจและได้รับโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะประสบความสำเร็จ หรือแม้แต่ธุรกิจที่มีอยู่แล้วมากมายในตลาด เช่นธุรกิจแฟรนไชส์ลูกชิ้นปิ้ง แต่ความแตกต่างและจุดเด่นด้านน้ำจิ้มอาจเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะเป็นจุดเด่น จุดแข็งเพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากเรื่องจุดเด่นแล้วยังค้องมีการพิจารณาการตลาดเรื่องอื่นเช่น จุดแข็งที่จะเป็นสิ่งที่ทำให้สินค้าเกิดความน่าสนใจ จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สินค้ามีอำนาจการแข่งขันในตลาดน้อยกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ โอกาสและอุปสรรคในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ที่ต้องการลงทุน อีกทั้งยังต้องพิจารณาเรื่องราคาขายต่อหน่วยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค สถานที่ทำเลที่จะตั้งขายสินค้าและบริการ การส่งเสริมการขายที่จะจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดการตัดสินใจซื้อเพื่อให้เราได้ทราบถึงจุดยืนและภาพรวมของผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้นด้วย





Advertisements

ตัวอย่างความสำเร็จ ช่วยคุณได้

       เพราะการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ล้วนมีความต้องการที่จะลดความเสี่ยงในการเริ่มต้นธุรกิจ แน่นอนว่าธุรกิจที่มีชื่อเสียง ติดตาผู้บริโภคอยู่แล้ว ทำให้ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์มีโอกาสในการประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะผู้บริโภคมักจะเลือกซื้อสินค้าในแบรนด์ที่ติดตา รู้จัก หรือให้ความเชื่อถือมากกว่าแบรนด์อื่นๆที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด ด้วยเหตุนี้เอง การวิเคราะห์ด้านการประสบความสำเร็จและชื่อเสียง รวมถึงการอยู่ในตลาดมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานก็ช่วยให้ประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น

พิจารณาถึงแฟรนไชส์ที่มีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีอยู่เสมอ

       ด้วยความที่ตลาดแฟรนไชส์กำลังเติบโต คู่แข่งรายอื่นๆทั้งสินค้าที่ผู้บริโภคสามารถใช้ทดแทนกันได้ สินค้าประเภทเดียวกัน สินค้าอื่นๆก็เพิ่มมากขึ้น ถ้าธุรกิจแฟรนไชส์นั้นไม่มีการพัฒนาปรับปรุงหรือ ไม่สามารถคงมาตรฐานไว้ได้ จะทำให้ผู้บริโภคหันไปใช้สินค้าของคู่แข่งมากขึ้น เพราะความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจจะลดลง รวมถึงภาพลักษณ์ที่เคยดีและมีชื่อเสียงอาจจะลดลงไปด้วย เพราะภาพลักษณ์และมาตรฐานก็ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในระยะยาว สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อยอดขายและความสำเร็จของผู้ซื้อแฟรนไส์ตามไปด้วย

เขียนโดย เซน ผู้เหลือรอดคนสุดท้าย
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com

copyright

ผู้สนับสนุน หมวดแฟรนไชส์

bannera1

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.