bannera1
จาก “พ่อค้าแบกะดิน” จตุจักร สู่เจ้าของธุรกิจรองเท้าส่งออก หลักล้าน ( 1 เดียวใน โตเกียว )

จาก “พ่อค้าแบกะดิน” จตุจักร สู่เจ้าของธุรกิจรองเท้าส่งออกหลักล้าน ( 1 เดียวใน โตเกียว )

จาก “พ่อค้าแบกะดิน” ที่จตุจักร สู่เจ้าของธุรกิจรองเท้าส่งออกหลักล้าน ( 1 เดียวใน โตเกียว )

    คนหนึ่ง…คน ที่เรียนจบ ป.ตรี สาขาการตลาด  หันมาเป็นพ่อค้าแบกะดิน กลับมานับหนึ่ง… ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ แต่กับก้าวไปไกล ถึงขั้นเปิดร้านขายรองเท้า ที่ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น…  “ใช่แล้ว ครับ ผมพูดไม่ผิด” 

หนทางนี้… ไม่น่าเป็นไปได้…  แต่มันเป็นไปแล้ว… และมีคนทำสำเร็จแล้วด้วย
แบนรด์น้องใหม่… ที่มาแรง…
เส้นทาง…การทำธุรกิจ  ที่ไม่ธรรมดา…

    เราลองไปดูขั้นตอนการทำธุรกิจ.. ของผู้ชายที่มีชื่อว่า “อนาวิล กังวาลกุลกิจ” ทุกขั้นตอนที่ก้าวเดิน..  เป็นบทเรียนธุรกิจที่ล้ำค่า ซึ่งหาไม่ได้จากตำราในห้องเรียน…  นอกจากตำราในชีวิตจริงเท่านั้น….

 จาก “พ่อค้าแบกะดิน” ที่จตุจักร สู่เจ้าของธุรกิจรองเท้าส่งออก 100 ล้าน ( 1 เดียวใน โตเกียว )

เรียนจบมาทำงานประจำ

    จุดเริ่มต้นเกิดจาก  “คุณอนาวิล กังวาลกุลกิจ (อ๊อบ)”  ที่เมื่อเรียนจบก็มาทำงานประจำ โดยคุณอ๊อบ ทำงานด้านออกแบบดีไซน์ ในระหว่างที่ทำงานประจำนั้น คุณอ๊อบ อยากหางานเสริมรายได้พิเศษ เห็นรุ่นน้องไปขายของที่ตลาดนัดจตุจักร  ตัวเองก็คิดว่า อยากไปขายบ้าง.. 

    เริ่มจากของง่ายๆ ที่มีดีไซน์.. อย่างรองเท้าผู้หญิง  ด้วยการไปรับมาขาย “ซื้อมาขายไปนั่นหล่ะ”  อาศัยว่าชอบงานด้านออกแบบดีไซน์ ( ทั้งที่เรียนจบการตลาดจาก จุฬา ) แต่ด้วยความชอบ จึงใส่ใจในรายละเอียดสินค้า..
    จับเทรนด์ของสาวๆ… เขาชอบอะไร.. ชอบแบบไหน..  ก็เลือก รองเท้ามาให้ตรงใจลูกค้า…

 จาก “พ่อค้าแบกะดิน” ที่จตุจักร สู่เจ้าของธุรกิจรองเท้าส่งออก 100 ล้าน ( 1 เดียวใน โตเกียว )

ถึงขายแบบ “แบกะดิน” ต้องไม่ธรรมดา…

    ในการไปขายช่วงแรก  คุณอ๊อบ กล่าวว่า  เริ่มพื้นๆ เลยครับ หรือ แบกะดิน  การขายแบบปูกับพื้น  ตรงไหนวางขายได้  ต้องรีบไปจองพื้นที่  บ้างครั้งต้องเจอกับเทศกิจ บ้างทีต้องเจอที่ขายติดกับถังขยะ ก็ต้องอดทดขายให้ได้…  แต่จุดแข็งสำคัญของร้านคุณอ๊อบ ในรูปแบบการขายแบบปูกะพื้นนั้น  คือ การจัดร้าน ( Display )

     ถึงแม้เป็นการปูกะพื้น… สินค้าต่างๆ  ก็คล้ายกันกับร้านอื่นๆ  แต่สิ่งสำคัญ  คือ การจัดร้าน จัดวางสินค้า ในสไตล์ของคุณอ๊อบเอง  คนอื่นเปิดแล้ว..  คุณอ๊อบยังจัดร้านอยู่  ต้องสร้างอารมณ์รวม ระหว่าง ลูกค้า + พ่อค้า + และบรรยากาศร้านให้ได้..

    เมื่อร้านเล็กๆ ยังดูดี..  เป็นที่ดูดดึงสายตาลูกค้า…  จึงเป็นการทะลายด่านแรกที่ทำให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้า… อย่างต่อเนื่อง…  ในการแบบแบกะดินของคุณอ๊อบ เรียกว่าขายดีเข้าขั้น  ขายแต่ละครั้งใช้เวลาไม่นานก็ขายได้หมด ใช้เพียงเวลาเดือนแรก..  ก็สามารถทำยอดขายได้ 30,000 – 40,000 บาท/เดือน

โอกาสแรกมา..  ต้องคว้าไว้ให้ได้..

    จากเดือนแรกที่ขายแบกะดิน ก็มีเพื่อนมาบอกว่า มีห้องว่างในจตุจักรสนใจไหม  ค่าเช่าเดือนละ 13,000 บาท/เดือน ขายได้เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์  เดือนหนึ่งขายได้ 8 วัน ,  ด้วยความมั่นใจในสินค้า รู้ว่าสินค้าที่เอามาขายนั้นขายได้แน่.. 

ประกอบ กับ เป็นการก้าวไปอีกขั้น ให้มีหน้าร้าน.. จะได้นำรองเท้าแบรนด์ตัวเองมาขายด้วย…
“เมื่อตัดสินใจแล้ว..  ก็เดินหน้าเต็มตัว”

    มีเงินเก็บจากการขายของ[แบกะดิน] ในเดือนแรกมาประมาณ 40,000 บาท , เงินทุกบาทนำมาใช้หมด  ส่วนใหญ่หมดไปกลับค่าเช่า เงินประกัน , และการจ้างช่างผลิตรองเท้า ที่จะมาวางขาย

    งานตกแต่งร้าน ต้องหาของใกล้ตัว, ของจากที่บ้านมาประดับตกแต่งร้าน , บอร์ดถูกนำมาเขียนป้าย , กล่องเปล่าของรองเท้าเอามาจัดประกอบฉาก , ของใช้ภายในบ้านชิ้นไหนเก๋ๆ เข้ากับธีมร้านได้  ต้องจับมาเปลี่ยนเพื่อใช้ประโยชน์
    ในที่สุดร้านก็เปิดขายได้…  ในการขายก็ถือว่าดีพอควร ยอดขายเดินไปได้  ขายได้อยู่ 6 เดือน… แสงใหม่เริ่มส่องสว่างอีก..

 จาก “พ่อค้าแบกะดิน” ที่จตุจักร สู่เจ้าของธุรกิจรองเท้าส่งออก 100 ล้าน ( 1 เดียวใน โตเกียว )

อย่ารอเมื่อมีโอกาส..  คิดแล้วทำเลย.. [ คนคิดเหมือนกันมีเยอะ แต่คนที่จะลงมือทำมีน้อย ]

    เปิดร้านแรกใน “จตุจักร” ไม่นาน..  ก็มีห้องว่างในจตุจักรประกาศเซ้งอีก  ค่าเช่า 30,000 บาท แต่ทำเลดีใช้ได้…  แสงใหม่มาอีกแล้ว…

การตัดสินใจ ของคุณอ๊อบ มาอีกแล้ว “ ไป หรือ ไม่ไป ”

    ใช้เวลา คิดไม่นาน… คุณอ๊อบ ตัดสินใจลุยร้านที่ 2  , ด้วยเหตุผลที่ว่า  เมื่อมีโอกาสดีๆ เข้ามาต้องรีบคว้าไว้ให้ได้..  ถ้าช้าโอกาสก็จะหลุดไป..  พอคิดจะกลับไปเอาอีก..  ก็ไม่มีซักแล้ว…

    ในการขายที่จตุจักร ถือว่าไปได้ดี ทั้งสองร้าน  ถึงแม้สินค้าจะไม่พอบ้าง  ก็ใช้วิธีดึงสินค้าไปมาเอา..  ใช้เวลาเพียง 1 ปี ก็สามารถทำยอดขายแตะหลักล้านบาทได้แล้ว…





Advertisements

บุกตลาดนอก การขายออนไลน์ ขอเวลา 6 เดือน [ พลิกธุรกิจ ด้วยการส่งออก ]

    การขายแบบ “พลิกหน้ามือ เป็นหลังมือ”  ต้องแรงและกินพื้นที่มากเพียงพอ…  ซึ่งในยุคนี้ เครื่องมือการตลาดที่สำคัญ คือ การขายแบบออนไลน์ 

    คุณอ๊อบ ได้ตั้งเป้าหมายของธุรกิจ ในการทำตลาดออนไลน์ นี้ว่า ภายในเวลา 6 เดือน  , ต้องทุมงบโฆษณาในการทำออนไลน์  เพื่อให้มียอดขาย ทั้งส่วนที่จะส่งออก และ ประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักแบรนด์ mywarisa มากขึ้น

    โดยการทำตลาดออนไลน์ นั้น เริ่มด้วยการเปิดเว็บไซต์ , การเปิดเพจฟสบุ๊ค และลงโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด  นอกจากนั้นยังได้ ไปเปิดร้านค้าออนไลน์ ในเว็บร้านค้าของขายใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น  จนได้รับรางวัล “ร้านค้าหน้าใหม่ ที่มียอดขายอันดับ 1 ประจำปี 2012”  นับเป็นผลสำเร็จอันมีนัยสำคัญมากๆ

    กลายเป็นจุดเริ่มต้น ในการเปิดร้านที่ประเทศญี่ปุ่น  “ร้านขายรองเท้าสัญชาติไทย 1 เดียว ใน ไดคังยามะ โตเกียว” ศูนย์กลางแฟชั่นของประเทศญี่ปุ่น และยังได้รวมทุนกับนักธุรกิจญี่ปุ่นท่านหนึ่ง ที่เอารองเท้า my warisa ไปข้างในห้างใหญ่ถึง 4 สาขา ( ส่วนหนึ่งนั้นมาจากภรรยาของนักธุรกิจท่านนั้นก็เป็นลูกค้าของ my’warisa เช่นกัน )

 จาก “พ่อค้าแบกะดิน” ที่จตุจักร สู่เจ้าของธุรกิจรองเท้าส่งออก 100 ล้าน ( 1 เดียวใน โตเกียว )

ปัญหาเกิดขึ้นเสมอ อยู่ที่จะหันหน้าสู้กับมันอย่างไร และ เลือกใช้วิธีไหนที่ดีที่สุด

    การทำธุรกิจ สิ่งที่ต้องเจอกันทุกคน คือ “ปัญหา”  ไม่เว้นแม้แต่ my’warisa ปัญหาใหญ่ที่เคยเจอ ก็คือ การถูก Reject สินค้า จากประเทศญี่ปุ่น

    รองเท้ากว่า 3,800 คู่ ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ( Quality Control )  ซึ่งรองเท้าที่จะไปขายในญี่ปุ่น จะถูกตรวจด้วยการเอกซเรย์ ดูว่ามีชิ้นส่วนที่เป็นโลหะมาหรือไม่  ซึ่งใน Lot ดังกล่าว อาจเป็นด้วยความประมาทประมาทเลินเล่อของช่าง ในการติดแผ่นรองเท้า  ทำให้รองเท้าจำนวน 100 กว่าคู่ ไม่ผ่าน QC แผ่นรองหลุดร่อนง่าย

คุณอ๊อบ ต้องหาหนทางในการแก้ปัญหา ในครั้ง  โดยสรุปแนวทางในการแก้ไขออกมา 3 แนวทาง คือ
1.) ส่งรองเท้าทั้งหมด กลับมาที่ประเทศไทย แล้วทำการแก้ไข ( ซึ่งใช้เวลามาก )
2.) ส่งช่างไปที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อทำการแก้ไข ( ใช้เงินมากว่าข้อแรก )
3.) ส่งให้ช่างในประเทศญี่ปุ่น แก้ไขเลย ( ใช้เงินมากที่สุด แต่เร็วกว่าทุกข้อ )

คุณอ๊อบ เลือก ข้อ.3 ถึงแม้ว่า สินค้า LOT นี้อาจจะขาดทุนก็ได้…  แต่คุณอ๊อบเลือกข้อนี้อย่างไม่ลังเลใจ…

เงินไม่สำคัญ เท่ากับ Brand

การที่คุณอ๊อบ เลือกแก้ปัญหา ในแนวทางที่ 3   ,  ด้วยเหตุเพราะว่า

“การที่จะทำให้  ใครคนหนึ่งรักแบรนด์เราได้ มันยาก.. แต่การจะรักษา ความรักนั้นไว้ให้ได้ มันยากยิ่งกว่า”

เงินจึงไม่ใช่ตัวเลือกสำคัญ สำหรับกรณีนี้เลย…  ต้องรักษาคู่ค้า และ รักษาลูกค้าไว้ให้ได้ สำคัญที่สุด…

 จาก “พ่อค้าแบกะดิน” ที่จตุจักร สู่เจ้าของธุรกิจรองเท้าส่งออก 100 ล้าน ( 1 เดียวใน โตเกียว )

Character สร้างยอดขาย

    สิ่งที่ทำให้แบรนด์ my’warisa มียอดขายมาก คือ ความมีตัวตน มีเอกลักษณ์ของรองเท้า หากเห็นรองเท้ารูปแบบนี้ ลูกค้าจะรู้ทันทีว่าเป็นรองเท้าของ ยี่ห้อ “มายวิริษา”  
     สไตล์ของ my’warisa คือ รองเท้า flat shoe รองเท้าส้นเตี้ย ที่เน้นการออกแบบสีสดใส เหมือนหญิงสาววัยรุ่น ที่กำลังท่องโลก ด้วยความเบิกบานสดใส ที่ได้สัมผัสธรรมชาติ  รองเท้าของ my’warisa จึงมีสีสันลวดลายเฉพาะตัว เข้ากับลูกค้าวัยใสๆ สาวทำงานสไตล์ working

    โดยจะมีออกรุ่นใหม่ๆ ในธีมใหม่ ออกมาอย่างต่อเนื่อง  และ เน้นในส่วนที่เป็นวัสดุ ที่จะนำมาทำรองเท้า ซึ่งวัสดุบ้างอย่างก็ ไม่คาดคิดว่าจะมาทำรองเท้าได้  แต่เมื่อทำออกมาแล้ว กับลงตัวไม่มีใครเหมือน นี่ล่ะ “สไตล์ my’warisa”





Advertisements

สวยแล้ว ต้องใส่สบายด้วย

    ในช่วงก่อนที่จะมาขายดี มียอดขายถล่มทลายเช่นนี้ อุปสรรค สำคัญด่านที่สอง คือ ลูกค้าซื้อครั้งแรก เพราะชอบที่ดีไซน์ แต่กลับไม่มาซื้ออีก ทำให้มีลูกค้ามาก แค่ช่วงแรกเท่านั้น คุณอ๊อบ ได้หันกลับพัฒนาคุณภาพทางด้านการส่วมใส่ เน้นที่วัสดุภายใน ที่จะมาทำรองเท้า

    ซึ่ง คุณอ๊อบ กล่าวในส่วนนี้ว่า โดยส่วนใหญ่รูปเท้าของคนเอเชียนั้น เป็นรูปทรงเท้าแบน จึงต้องปรับรูปทรงให้เหมาะสม ควบคู่ไปกลับการใช้วัสดุภายใน
    หลังจากมีการปรับแก้แล้ว รองเท้าทุกรุ่น ที่ออกมาใหม่ คุณเก๋ จะต้องทดลองสวมใส่ด้วยตัวเองก่อน  ว่าใส่แล้วสบายไหม รองเท้าไม่กัด รัดเท้าจนเกินไป “ดีไซน์โดนใจ สวมใส่สบาย”  ยอดขายก็กลับมาพุ่งอีกครั้ง

 จาก “พ่อค้าแบกะดิน” ที่จตุจักร สู่เจ้าของธุรกิจรองเท้าส่งออก 100 ล้าน ( 1 เดียวใน โตเกียว )

6 สาขา ใน Central , 1 สาขา ที่จัตจักร , Siam Square , The Circle (Ratchapruk) และ 1 สาขาในญี่ปุ่น

    ภายในเวลา 4 ปี การดำเนินธุรกิจ แบบเข้าใจ , จริงใจ ,และใส่ใจ  สามารถทำให้แบรนด์น้องใหม่อย่าง mywarisa มาผงาดอยู่แถวหน้าของเมืองไทย  สินค้าของเขาถูกวางขายตามสาขาของห้างเซ็นทรัล , ร้านที่เปิดเอง ในจตุจักร , สยามสแควร์ , เดอะเซอร์เคิล ราชพฤกษ์ และ ร้าน Stand alone ที่ ไดคังยามะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ยอดขายหลักหลายพันคู่ / เดือน  

    ปัจจุบัน ยอดขายโดยรวมทั้งภายในประเทศ และ ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น นั้น เฉลี่ยอยู่ที่ หลายพันคู่ / เดือน  ตามแต่ช่วง โล-ไฮ  โดย รองเท้าของ my’warisa จะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 – 3,500 บาท/คู่  , ในแต่ละปีสามารถทำยอดขายแตะระดับหลักหมื่นคู่ต่อปี  คิดเป็นเม็ดเงินแล้ว สามารถสร้างยอดขายได้ หลายล้านเลยทีเดียว

     สำหรับ “รองเท้า my’warisa” แบรนด์น้องใหม่ ไฟแรง…  ที่มาแรงแซงทุกทางโค้ง  ใครจะไปเชื่อว่าเริ่มจากการขาย “แบกะดิน”  เจ้าของธุรกิจ คือ อดีตพ่อค้ารองเท้าที่ตลาดนัดจตุจักร “แต่ความเชื่อมั่น มันนำพามาซึ่งความสำเร็จ”

ไม่ได้มีนามสกุลดังอะไร… ไม่ได้เริ่มจากเงินทุนมากมายอะไร..
สิ่งที่ทำได้ คือ การคว้าโอกาสที่มีเข้ามา พร้อมสร้างโอกาสใหม่ๆ  ให้ก้าวต่อไปที่ใหญ่กว่า…
คิดแล้วต้องลงมือทำ เพราะถ้าไม่เริ่มต้น…  ผลของความสำเร็จ ก็คือ ศูนย์ อยู่วันยังค่ำ…

ล้วนแล้ว… แต่เป็นหลักชัยของธุรกิจ…  ของชายหนุ่มที่มี ชื่อว่า “คุณอนาวิล กังวาลกุลกิจ (อ๊อบ)”

เขียนโดย อาซาดะ ริวอิจิ
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com
ไม่อนุญาต “คัดลอก” รวมถึงในกรณี ที่จะใส่ลิ้งค์กลับ ก็ไม่อนุญาต เช่นกันนะครับ
อนุญาตให้ “แชร์” ได้ครับ
ขอบคุณครับ

ปล. ขอขอบคุณ. “คุณอนาวิล กังวาลกุลกิจ” ที่อนุญาต ให้ทางทีมงานเว็บ ทำเลขายของ.com นำเรื่องราวการทำธุรกิจ มาเผยแพร่ได้  เรื่องราวที่จะสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับอีกหลายๆ คน ที่กำลังวิ่งหาเส้นชัยแห่งความสำเร็จ… อยู่เช่นกัน

ข้อมูลธุรกิจ
ชื่อธุรกิจ : mywarisa
เจ้าของธุรกิจ : คุณอนาวิล กังวาลกุลกิจ
Facebook : https://www.facebook.com/Mywarisa
Website : http://www.mywarisa.com/
สำหรับผู้ที่สนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย สามารถติดต่อได้ที่ โทร.02-115-3562  ( แจ้งว่าทราบจาก เว็บ.ทำเลขายของ.com )

copyright

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.