bannera1
การทําธุรกิจเฟรนไชส์ การทําธุรกิจเฟรนไชส์

7 ข้อ ใน… “การทําธุรกิจเฟรนไชส์” ให้ประสบความสำเร็จ

การทําธุรกิจเฟรนไชส์ ให้ประสบความสำเร็จ ต้องทำอย่างไร

   การทําธุรกิจเฟรนไชส์ ให้ประสบความสำเร็จ ต้องทำอย่างไรบ้าง และควรรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง เป็นสิ่งที่น่าศึกษาทั้งผู้ที่สนใจขายแฟรนไชส์ และผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์ก็เช่นกัน

สิ่งที่ต้องรู้สำหรับผู้ที่คิดการทําธุรกิจเฟรนไชส์เป็นของตัวเองนั้น มีดังต้องไปนี้

1.) ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งก่อนขายแฟรนไชส์

   การที่เราจะขายแฟรนไชส์ให้แก่ผู้สนใจจะมาซื้อแฟรนไชส์นั้น  สิ่งแรกที่ควรจะมีก็คือ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในลำดับขั้นตอน  ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องธุรกิจที่ใหญ่โตอะไร แค่เป็นร้านเล็กๆ แต่มีสินค้าที่ดี เป็นที่ยอมรับของลูกค้า มีการขายทที่มีกำไร  ลูกค้าเรียกร้องสินค้าตลอดๆ จนมีลูกค้าประจำนวนมาก  นั่น…ก็หมายถึง  “สินค้าได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว”

    ตัวอย่างเช่น “ร้านขายปาท่องโก๋” ที่มีสูตรแป้งเด็ดเฉพาะตัว  เจ้าของเริ่มต้นบุกเบิบขายด้วยตัวเอง  จนมีรู้คนติดเป็นจำนวนมาก  และกระจายออกไปในพื้นที่ข้างเคียง  ลูกค้าในโซนที่ไกลออกไป ก็อยากกินปาท่องโก๋ร้านนี้ด้วย

   นี่ก็คือ..จุดเริ่มต้นแรก ที่เข้าองค์ประกอบของ “การทําธุรกิจเฟรนไชส์” ขั้นแรกแล้ว 

   และ “ปาท่องโก๋” ยังเหมาะที่จะทำเป็นแฟรนไชส์อย่างมาก ด้วยองค์ประกอบของ “ตัวสินค้า และ วิธีการทำ”  หากขายแฟรนไชส์ออกไป  ก็จะตัวแป้งแบบสูตรของแบรนด์ มีการอบรมเทคนิคการทำ , วิธีการสร้างสัมพันธ์ภาพกับลูกค้า , การควบคุมคุณภาพอื่นๆ ให้สำหรับผู้ที่สนใจ ยังไม่มีประสบการณ์มาก่อนนั่นเอง

   การขายที่ประสบความสำเร็จในขั้นตอนแรกนั้น จึงควรมีเป็นอันดับแรก





Advertisements

2.) ผลประกอบต้อง Win & Win

    การทําธุรกิจเฟรนไชส์ นั้นสิ่งต่อมา คือ ผลตอบแทนที่ต้อง win win ทั้งสองฝ่าย  กล่าวคือ ผู้ที่จะขาย และ ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ไปนั้น  ต้องมีกำไรทั้งคู่

    นั่นแปลว่า “ผลตอบแทน” ของธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ ต้องมีมาร์จิน(กำไร) เพียงพอทั้งสองฝ่าย  โดยส่วนต่างที่ผลกำไรนั้น คงมีอัตราส่วนของเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกัน

    ผู้ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ จะได้กำไรที่เป็นเปอร์เซ็นต์น้อยกว่า อาจประมาณ 10-15 % (กลุ่มอาหาร) กำไรจะน้อย เพราะเปรียบเสมือนเป็นผู้ประการในรูปแบบค้าส่ง
    ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ไป ก็จะต้องได้กำไร อยู่ราวๆ 20-35 % เป็นอย่างน้อย เพราะอยู่ฐานะผู้ประกอบการแบบขายปลีก ซึ่งอยู่ต้องมีต้นทุนอื่นๆ อีกหลายๆ อย่าง เช่น ค่าเช่าที่ , ค่าน้ำ , ค่าไฟฟ้า , ค่าแรงงาน , ค่าขนส่ง , ค่าวัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น

3.) เรียนรู้ระบบแฟรนไชส์

   เมื่อมีวัตถุดิบพอควร ที่เข้าองค์ใน 2 ข้อแรกแล้ว  ก็ต้องหาความรู้เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ อันประกอบด้วยกันหลายส่วน ซึ่งปัจจุบัน ก็มีการคอร์สอบรม  จากทางสมาคมแฟรนไชส์ไทย ที่จะมีการเปิดอบรมเรื่องการสร้างระบบแฟรนไชส์ 30 ชั่วโมง ทุกๆปี จะจัดกันเป็นประจำ ปีละ 1-2 ครั้ง เราสามารถหาความรู้ได้จากการเข้าอบรมคอร์สนี้ได้เลย

4.) เงินทุน

    การทําธุรกิจเฟรนไชส์ เป็นของตัวเอง เปรียบเสมือนเราเป็นหัวเรือใหญ่ เป็นแม่ทัพที่จะต้องดูแลทหารทั้งกองทัพ  สิ่งที่สำคัญอีกประการก็คือ “เงินทุน”

อันเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ เพราะเมื่อเราจะสร้างแฟรนไชส์เป็นของตนเองแล้ว  การลงทุนจะต้องตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การออกแบบโลโก้ , การออกแบบร้าน , การออกชุดพนักงาน , การเซ็ตอุปกรณ์ต่างๆ   ภายในร้าน ให้มีรูปแบบเดียวกันทุกที  จะต้องการว่าจ้าง-จัดซื้อ อันมีงบในการลงทุนพอสมควร

   ทั้งนี้ควรเขียนแผนธุรกิจ และประเมินเงินทุนออกมา อย่างน้อยควรมีเงินทุนมากกว่าเงินทุนที่คาดการณ์ใช้ ประมาณ 2 เท่า เป็นอย่างน้อย เพื่อเป็นสายปานทางกันเงิน ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อเจอสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง

5.) อย่าไร้ตัวตน

    เมื่อเดินทางมาถึงจุดนี้… “ความน่าเชื่อถือ…สำคัญมาก”  ต้องทำองค์กรให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีความน่าเชื่อถือ สิ่งเหล่าจะเกิดได้จากอะไรบ้าง

     – สถานที่ตั้ง ต้องมีสถานประกอบการที่ชัดเจน มีเลขที่ตั้งแบบเต็มๆ เหมือนห้าง-ร้าน-บริษัท อาจเป็นเพียงที่บ้าน ก็สามารถทำได้ เช่น ในรูปแบบโฮมออฟฟิศ  สำคัญต้องเป็นหลักแหล่งชัดเจ

    – โซลเชี่ยล ช่วยด้วย สมัยยุค 4G นี้ไม่พ้นเฟสบุ๊ก อาจสร้างเพจ แล้วสร้างการเคลื่อนไหวอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง  มีการตอบโต้ลูกค้า มีสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นการอัพเดทของแบรนด์สินค้า 

   – เว็บไซต์ ก็ยังจำเป็นอยู่ ถึงมีเฟสบุ๊ค แล้วก็ตาม เพราะจะสามารถนำเสนอ องค์การของเราได้อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น เน้นในเรื่องนำเสนอทางเดียวมากกว่าเพจเฟสบุ๊ค

   – โลโก้ , เอกสาร , นามบัตร อื่นๆ  ส่วนประกอบต่างๆ ที่สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ เราทำเพื่อกระจายข้อมูล การรับรู้ไปในตัว

     สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้น….จะต้องค่อยๆ สร้างทีละน้อย จนเริ่มคุ้นชินไปในที่สุด และลูกค้าก็จะเริมรู้ตัวตนของเราในที่สุดเช่นกัน

6.) มาตรฐานชัดเจน

    พอทุกอย่างเริ่มลงตัว การทําธุรกิจเฟรนไชส์ อันดับต่อมา… คือ ควรมีการจัดทำคู่มือ การอบรบ และตรวจสอบคุณภาพ  สิ่งที่เป็นหัวใจ ในการขับเคลื่อนทําธุรกิจเฟรนไชส์ ต้องสร้างมาตรฐานให้เหมือนกัน ให้มีทิศทางเดียวกันทั้งหมด

     เมื่อจำนวนแฟรนไชส์มีมากขึ้น  การอบรม ผู้ที่สนใจก่อนขายจริงเป็นสิ่งสำคัญมาก  พร้อมกันนี้ ก็ต้องจัดทำคู่มือ ให้กับผู้ที่จะขายด้วย

    เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ ยังไม่มีประสบการณ์ใดๆเลย  ก็ต้องฝึกฝนให้มีความชำนาญ  ในบางแฟรนไชส์ใหญ่ๆ เมื่ออบรมแล้ว  ยังส่งให้ไปขายจริงในสาขาที่มีการขายดี เพื่อให้ได้รับรู้บรรยากาศจริงๆ  และพร้อมกับได้เทส หรือประเมินความพร้อมของผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้เลยนั่นเอง





Advertisements

7.) ติดตาม ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา

ใน การทําธุรกิจเฟรนไชส์ อันท้ายๆ ที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่งยวด  คือ การช่วยเหลือ , ติดตามผล , แก้ไขปัญหาต่างๆ

การช่วยเหลือ : ในช่วงแรกของการเปิดร้านสาขาแฟรนไชส์  เราต้องเข้าไปช่วยเขาในเรื่องการโปรโมท  ทั้งในพื้นที่ทางตรง และสื่อต่างๆทางอ้อม  จัดชุดมือโปรเข้าไปช่วยเรียกลูกค้าก่อนในตอนเปิดร้าน  อาจต้องใช้เวลากันเป็นเดือนๆ แล้วแต่กรณี  หรืออาจจะต้องจัดสินค้าโปรโมชั่น ให้ร้านสาขาไปเรียกลูกค้า เช่น “ซื้อ 1 แถม 1 “ แจก 100 ชุด วันนี้-วันเดียว สำหรับผู้ที่กดไลค์-กดแชร์ แบบนี้เป็นต้น

ติดตาม : ครั้นพอ สาขาแฟรนไชส์เริ่มเดินไปได้ด้วยตัวเองแล้วนั้น  ทางแฟรนไชส์ใหญ่ ต้องจัดทางออกประเมินคุณภาพ จัดคะแนน หาข้อแก้ไขต่างๆ ให้สาขาได้ปฎิบัติตามไปในทางเดียวกัน

แก้ไขปัญหาต่างๆ : การเปิดร้านย่อมเกิดปัญหา มากมาย  ทั้งนี้เพราะ สาขาแฟรนไชส์นั้น ค่อนข้างเป็นมือใหม่  เมื่อเกิดปัญหาย่อมต้องการคำชี้แนะเสมอ  ดังนี้ต้องมี ฝ่ายที่รับผิดชอบพร้อมแก้ไข ให้ลูกค้าได้ตลอดเวลา ไม่ใช่ให้ลูกค้าคิดแก้ไขปัญหาเอง  ถ้าอย่างนั้นเขาจะมาซื้อแฟรนไชส์เราทำไม

     สำหรับผู้ที่สนใจใน การทําธุรกิจเฟรนไชส์  ควรตระหนักหัวใจสำคัญไว้ข้อหนึ่งเสมอคือ “ถ้าเขาอยู่ได้…เราก็อยู่ได้”  ถ้าหากผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์เราไป เขาสามารถขายได้…มีกำไรที่ดี  นั่นแปลว่า…เราก็ขายได้มากขึ้น และจะมีสาขาแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ทำให้เราประสบความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์นั่นเอง

…………………………………………………..

เขียนโดย เชื่องช้าแต่หนักแน่น
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com
(ข้อมูลลิขสิทธ์ โดยทีมงาน www.ทำเลขายของ.com )
ไม่อนุญาต “คัดลอก” รวมถึงในกรณี ที่จะใส่ลิ้งค์กลับ ก็ไม่อนุญาต เช่นกันนะครับ
อนุญาตให้ “แชร์” ได้ครับ
ขอบคุณครับ

copyright

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.