bannera1
60 ปี รองเท้าแตะ “นันยาง” ผลิตมาแล้ว..หลายร้อยล้านคู่

60 ปี รองเท้าแตะ “นันยาง” ผลิตมาแล้ว..หลายร้อยล้านคู่

60 ปี รองเท้าแตะ “นันยาง” ผลิตมาแล้ว..หลายร้อยล้านคู่

การเดินทางของช้างตัวหนึ่งที่ชื่อ “นันยาง”

2450 – 2462 เสื่อผืนหมอนใบ

     สมัยตอนต้นรัชกาลที่ 6 หนุ่มน้อยจากมณฑลฮกเกี้ยน ชื่อ “ซู ถิง ฟาง” หรือ “วิชัย ซอโสตถิกุล” เดินทางเข้ามา ยังแผ่นดินไทยครั้งแรกพร้อมบิดา เมื่ออายุ 15 ปีโดยอาชีพแรกของเขาเมื่อถึงแผ่นดินไทย คือขายเหล็กในโรงงานของผู้เป็นน้องของบิดา

 2463 – 2477  ก่อร่างสร้างตัว

    หลังผ่านการทดสอบในระดับหนึ่ง เขาก็สั่งสมประสบการณ์ในหน้าที่การงาน จนถึงระดับได้ทำหน้าที่ หลงจู๊ ในโรงไม้จินเส็ง ซึ่งมีสำนักงานอยู่ใกล้วัดตะเคียน (วัดมหาพฤฒารามในปัจจุบัน) ในพระนคร

    วิชัยพบรักกับสาวไทยเชื้อสายจีนที่เป็นคนอยุธยา บุญสม บุญยนิตย์ หลังจากแต่งงานเป็น ครอบครัวที่สมบูรณ์ อาชีพในโรงไม้ก็ยังมั่นคง เขาได้บุตร-ธิดาเป็นทายาทสืบทอดตระกูล ซอโสตถิกุล รวมทั้งสิ้น 9 คน ด้วยสภาพการต่อสู้อันยากลำบากจากจุดเริ่มต้นยังดำเนินต่อไป กว่าจะตั้งหลักทางธุรกิจได้ก็ ต้องวนเวียนอยู่กับการเป็นลูกจ้างอยู่ในระยะนี้

2478 – 2490 บริษัท ฮั่วเซ่งจั่น จำกัด

    ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 วิชัยตัดสินใจลาออกจากการเป็นหลงจู๊ในโรงไม้แห่งเดิม เพื่อก่อตั้งบริษัท ฮั่วเซ่งจั่น จำกัด โดยเช่าอาคารสำนักงาน 2 ชั้น บริเวณหัวโค้งเชิงสะพานพุทธฯ (บริเวณถนนตรีเพชร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนครในปัจจุบัน) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะผันตัวเองขึ้นมาเป็น “เถ้าแก่” บุกเบิกธุรกิจของตัวเอง โดยธุรกิจของเขาเริ่มต้นในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลก ไม่ได้ซับซ้อนมากไปกว่าการซื้อมา-ขายไป

2491 – 2495 บริษัท วัฒนสินพาณิชย์ จำกัด, รองเท้าผ้าใบยี่ห้อ “หนำเอี๊ย”

    เมื่อควันของสงครามยุติลง สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ วิชัย ซอโสตถิกุล และครอบครัว ย้ายกลับมาเข้าในกรุงเทพฯ หลังหลบภัยสงคราม และตั้ง บริษัท วัฒนสินพาณิชย์ จำกัด เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2491 โดยยย้ายสำนักงานไปอยู่บริเวณย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ (บริเวณตรงข้ามซอยสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ในปัจจุบัน) ช่วงนี้เองที่ธุรกิจของวิชัย ซอโสตถิกุล เริ่มมั่นคงและขยายตัวรุดหน้าไปเรื่อยๆ มีการติดต่อกับต่างประเทศ นำเข้า-ส่งออกสินค้าหลากหลายชนิด รวมถึงรองเท้าจากประเทศสิงค์โปร์ ยี่ห้อหนำเอี๊ย (แปลว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

    ณ จุดนี้เองเป็นจุดสำคัญที่มีการติดต่อร่วมทำธุรกิจระหว่าง นายโซว คุน ชู (Mr. Soh Koon Choo) ประธานบริษัทนันยางสิงคโปร์ และวิชัย ซอโสตถิกุลซึ่งตัวแทนนำเข้ารองเท้ายี่ห้อ หนำเอี๊ย เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้น มีจำหน่ายเฉพาะรองเท้าผ้าใบรุ่น 500 สีน้ำตาล พื้นยางสีน้ำตาล บรรจุถุงกระดาษสีน้ำตาล ในราคาคู่ละ 12 บาท

    การขายรองเท้าผ้าใบหนำเอี๊ยใน 2 ปีแรกยังขาดทุน เนื่องจากประสบกับภาวะต้นทุนที่สูงมาก แต่ภายหลังเมื่อตลาดเริ่มตอบรับดีขึ้นในตลาดสำเพ็ง และลูกค้าทางภาคเหนือ เนื่องจากคุณภาพที่ดี จนมีคนกล่าวติดตลกว่า “ใส่เดินข้ามภูเขาไปกลับได้สบายๆ ส่วนยี่ห้ออื่น ขาไปใส่หนึ่งคู่พังพอดี ต้องเตรียมไปอีกหนึ่งคู่เพื่อใส่กลับ”

    เมื่อรองเท้าผ้าใบรุ่น 500 เป็นที่นิยมอย่างมากในเวลาต่อมา ทำให้บริษัทฯ ลดการนำเข้าสินค้าประเภทอื่นๆ และเน้นการขายรองเท้าเพียงอย่างเดียว ขณะนั้นเองเป็นได้เปลี่ยนจากชื่อยี่ห้อจาก หนำเอี๊ย ซึ่งเป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว เป็นภาษาจีนกลางที่ออกเสียงว่า หนันหยาง แต่เพื่อให้เรียกสินค้าได้ง่าย และดูเป็นคำไทยขึ้น จึงใช้ชื่อว่า “นันยาง ตราช้างดาว” และได้จดทะเบียนการค้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492

 2496 – 2510 ก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่ของรองเท้านันยาง

   จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีนโยบายเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยเกี่ยวเนื่องกับการเสียดุลการค้า บริษัทฯ จึงมีแนวคิดจะผลิตสินค้าเอง โดยใช้วัตถุดิบและแรงงานในประเทศ

    ในที่สุดนายห้างวิชัยได้ตัดสินใจร่วมทุนกับคุณชู (Mr. Soh Koon Choo) และกลุ่มนักธุรกิจชาวสิงคโปร์ ก่อตั้ง บริษัท ผลิตยางนันยาง(ไทย) จำกัด บนเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ เรียบถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ (ในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2496 เพื่อเป็นฐานการผลิตรองเท้านันยางในประเทศไทย และเพิ่มประโยคที่ว่า “Made in Thailand” ในเครื่องหมายการค้า “นันยาง ตราช้างดาว” เดิม และขอซื้อกรรมวิธีการผลิตจากสิงคโปร์ โดยในช่วงแรกเมื่อช่างไทยยังไม่มีความชำนาญ ได้มีช่างจากสิงค์โปร์มาประจำ 30 คน ซึ่งเดินทางโดยเรือมาจากสิงคโปร์ไปมาเลเซีย และนั่งรถต่อมาถึงกรุงเทพฯ และผลิตรองเท้าได้ประมาณวันละ 70 คู่เท่านั้นเอง

    ขณะที่นายห้างวิชัยดูแลภาพรวมของบริษัท คุณนายบุญสม ซอโสตถิกุล ภรรยาคู่ใจ หลังจากที่ลูกสาวคนสุดท้องอายุ 2 ขวบ ได้อาสาดูแลการผลิต และควบคุมคุณภาพสินค้าด้วยตัวเองทุกวัน บ่อยครั้งจะลงมือคัดเลือกรองเท้าที่ไม่ได้มาตรฐานด้วยตนเอง ก่อนที่สินค้าจะส่งออกสู่ตลาด

2511 – 2521 เติบโตอย่างมั่นคง

    รองเท้าผ้าใบนันยางได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทยและเพื่อนบ้าน โดยรองเท้าผ้าใบรุ่น 500 ยังคงเป็นที่นิยมของวัยรุ่น และคนทำงานสมัยนั้น นอกจากนี้ยังมีการเริ่มต้นผลิตรองเท้าแตะฟองน้ำ รุ่น 200 ด้วยการพัฒนาส่วนผสมและกระบวนการผลิตอย่างลงตัว ทำให้รองเท้าแตะฟองน้ำ รุ่น 200 ของนันยาง ตราช้างดาวขณะนั้นได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ซึ่งในช่วงแรกมีสองสีคือ สีน้ำตาลและสีน้ำเงิน บรรจุในถุงพลาสติกใส จำหน่ายในราคาคู่ละ 15 บาท

ล่าสุดเพจของนันยางได้โพสดังนี้

    ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี รองเท้าแตะ นันยางตราช้างดาว หลายร้อยล้านคู่ได้ผ่านร้อนหนาวร่วมกับคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก ด้วยเอกลักษณ์ความสบาย ง่ายง่าย ทนทาน ลุยไปทุกที่ ใส่ได้หมดไม่ว่ารวยหรือจน ทุกเพศทุกวัย และได้รับความนิยมจากรุ่นสู่รุ่น ช้างดาวจึงเป็นมากกว่ารองเท้า เป็นมากกว่าแฟชั่น แต่เป็น ‘สไตล์’ ที่อยู่เหนือกาลเวลา

    เพื่อเป็นการขอบคุณทุกคนที่ร่วมกันสร้างให้เรามีวันนี้ ขอมอบรูปภาพชุดพิเศษ ‪#‎ChangDaoStyle ที่มีแรงบันดาลใจสะท้อนตัวตนของรองเท้าแตะในตำนาน และภาพยนตร์โฆษณาครั้งแรกในรอบ 60 ปี โดยจะเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณา เช้าตรู่วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฏาคม 2559 เวลา 6 โมงเช้าเป็นต้นไปที่ FB.com/Nanyang.co.th

ขอบคุณข้อมูล ที่มาจาก
 http://www.nanyang.co.th/
https://www.facebook.com/Nanyang.co.th/





Advertisements





Advertisements

copyright

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.